วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รมต.สาทิตย์ มอบสัญญาเช่าที่ดินรถไฟให้ชาวชุมชนเขารูปช้าง


รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมอบสัญญาเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยและเอกสารรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินให้แก่ชุมชน

โครงการบ้านมั่นคง เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 46 เมือง 109 โครงการ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 251 ชุมชน 12,253 ครัวเรือน และสามารถพัฒนาเอกสารสิทธิการครอบครองที่ดินได้หลายพื้นที่ เช่น การรับรองสิทธิที่ดินและการปลูกต้นไม้ในเขตป่า ต. ปากทรง อ.พะโต๊ะและล่าสุดได้มีการทำเอกสารสิทธิโดยสภาองค์กรชุมชนที่ ต.ท่าตะโก จ.ชุมพร

และเมื่อเวลา 09.30 น วันนี้ ( 9 ต.ค. 2552 ) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางไปมอบสัญญาเช่าที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยและเอกสารรับรองการใช้ ประโยชน์ที่ดินให้แก่ชุมชน 5 ชุมชนในจังหวัดสงขลา ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา สงขลา อ.เมือง จ.สงขลา โครงการบ้านมั่นคง จ.สงขลา แก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน จำนวน 4 เมือง 24 ชุมชน จำนวน 4,053 ครัวเรือน ซึ่งอาศัยในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 19 ชุมชน 3 เมือง 3,374 ครัวเรือน โดยรูปแบบการขอเช่าและใช้ประโยชน์ร่วมกันระยะยาว

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหา การจัดการทรัพยากรยังมีอยู่ จะรับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาของทางจังหวัดและคงมีแนวทางของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหา ที่อยู่อาศัยต่อไป โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลัก

แฉบิ๊กรถไฟฯอมที่ดินหารายได้


ไทยโพสต์ 26 กันยายน 2552

บอร์ดการรถไฟฯ ฉุน "ยุทธนา" นิ่งเฉย ไม่เสนอแผนพัฒนาที่ดิน เตรียมนำเข้าที่ประชุมไล่บี้อีกรอบ แฉมีการนำที่ดินหลวงไปหาประโยชน์ส่วนตัว

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป จะเร่งรัดให้นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.จัดทำรายละเอียดแผนพัฒนาที่ดินของ ร.ฟ.ท.ทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน เนื่องจากบอร์ดเคยสั่งให้ดำเนินการมานานแล้ว แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ และขณะนี้บอร์ดก็ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ดินเลย

"จะเรียกผู้บริหารและผู้ว่าฯ มาหารือ และให้สรุปว่าทำอย่างไรต่อไป ให้กำหนดจำนวนพื้นที่และการสร้างมูลค่าเพิ่มว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมีการนำที่ดินของ ร.ฟ.ท.ไปหารายได้พิเศษส่วนตัว" นายสุพจน์กล่าว

นายสุพจน์ กล่าวว่า ที่ดินแปลงแรกที่จะให้ทาง ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการคือ ย่านถนนรัชดาภิเษก ให้ทำรายละเอียดว่าที่ดินทั้งหมดมีเท่าไร แปลงไหนบ้าง คิดสัดส่วนค่าเช่าอย่างไร จะพัฒนารูปแบบใด และปัจจุบันมีใครทำธุรกิจอยู่ในที่ดินดังกล่าวบ้าง

ก่อนหน้านี้ นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้มอบหมายให้นายยุทธนาตรวจสอบพื้นที่กรรมสิทธิ์ของ ร.ฟ.ท.ทั่วประเทศ ว่ามีพื้นที่ใดบ้างหมดสัญญาการเช่า รวมถึงพื้นที่ใดที่มีปัญหา และได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งมีมติแต่งตั้ง พล.ต.ท.บริหาร เสี่ยงอารมณ์ กรรมการบอร์ดเป็นประธานพิจารณา

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ร.ฟ.ท.มีที่ดินอยู่จำนวน 234,976 ไร่ ประกอบด้วยที่ดินที่ใช้รองรับภารกิจหลักขององค์กร 198,674 ไร่ ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ 36,302 ไร่ ที่ดินสถานี 5,333 ไร่ ที่ดินบ้านพัก 3,755 ไร่ และที่ดินที่เป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่.

บอร์ดบี้ยุทธนา เร่งทำแผน พัฒนาที่ดินรถไฟ


ไทยรัฐออนไลน์ 25 กันยายน 2552

Posted: 26/09/2009 1:52 am Post subject: ที่ดินเป็นพิษ

--------------------------------------------------------------------------------

บอร์ดบี้ยุทธนา เร่งทำแผน พัฒนาที่ดินรถไฟ
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 25 กันยายน 2552, 21:58 น.

บอร์ดรถไฟบี้ผู้ว่าร.ฟ.ท.เร่งทำรายละเอียดแผนการพัฒนาที่ดินทั่วประเทศหลังสั่งให้ศึกษา นานแล้วแต่ยังไม่รายงานให้บอร์ดทราบ เผยประชุมครั้งหน้าให้ส่งรายละเอียดที่ดินย่านรัชดาก่อนเป็นอันดับแรก

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) ในฐานะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าที่ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งหน้าจะเร่งรัดให้นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.จัดทำรายเอียดแผนพัฒนาที่ดินของร.ฟ.ท.ทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน เนื่องจากบอร์ดเคยสั่งให้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวมานานแล้ว แต่ ร.ฟ.ท.ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ขณะนี้บอร์ดเองก็ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ดินเลย

"ในการประชุมครั้งหน้าจะเรียกผู้บริหารและผู้ว่ามาหารือและให้สรุปว่าทำอย่างไรต่อไป ให้กำหนดจำนวนพื้นที่และการสร้างมูลค่าเพิ่ม ว่าจะดำเนินการอย่างไร อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมีการนำที่ดินของร.ฟ.ท.ไปหารายได้ พิเศษส่วนตัว"นายสุพจน์กล่าว

นายสุพจน์กล่าวด้วยว่า ที่ดินแปลงแรกที่จะให้ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการคือ ย่านรัชดา ให้ทำรายละเอียดว่าจะ ที่ดินทั้งหมดมีจำนวนเท่าไหร่ แปลงไหนบ้าง คิดสัดส่วนค่าเช่าอย่างไร การพัฒนาจะเป็นในรูปแบบใด มีการสร้างมูลค่าอย่างไร และปัจจุบันมีใครทำธุรกิจอย่างไร

นายสุพจน์ กล่าวถึงโครงการระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งผู้ โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ ว่า ภายหลังจากนายกอร์ปศักดิ์ สภาวศุ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ได้เดินทางมาตรวจสอบการเดินรถและความพร้อมสำหรับโครงการดังกล่าว ก่อนสั่งการให้ร.ฟ.ท. เร่งดำเนินการเปิดให้ทันตามกำหนดการ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มข้อสรุปในการตั้งบริษัทลูก ขึ้นมาบริหารการเดินรถของโครงการนั้น บอร์ดร.ฟ.ท.จะเร่งสั่งการไปยังฝ่ายบริหาร ให้หาวิธีการดำเนินการเพิ่มเติมให้สามารถเปิดบริการให้ได้ทันกำหนด นอกจากนี้ในส่วนของการจัดเตรียมบุคลากรที่ต้องฝึกอบรมให้มีความพร้อมก่อน เปิดให้บริการนั้น ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่สามารถจัดเตรียมบุคลากรให้ทันกับกำหนดการที่จะเปิดให้บริการได้ เนื่องจากยังคงติดปัญาการจัดตั้งบริษัทลูกกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.อยู่ ตามกำหนดเดิม ร.ฟ.ท.จะต้องเริ่มการฝึกบุคลากรไปแล้ว ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2552 ที่ผ่านมา

นายอำเภอโก-ลก รื้อถอนบ้าน 3 หลัง บนที่ดินการรถไฟ


นราธิวาส - การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมศุลกากร เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเจ้าของบ้าน 3 ที่ปลูกบ้านทับซ้อนนั้น ทางนายอำเภอและนายด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ได้ทำการรื้อถอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเกิดความยินยอม พร้อมจ่ายเงินจำนวน 192,000 บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินในการปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นมาใหม่

หลังจากที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมศุลกากร เป็นโจทย์ในการยื่นฟ้องเจ้าของบ้าน 3 หลังบริเวณชุมชนหัวสะพาน ที่ปลูกบ้านทับซ้อนพื้นที่การก่อสร้างส่วนต่อขยายเส้นทางเข้าประเทศไทยของศูนย์ราชการชายแดน อ.สุไหงโก-ลก บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้รื้อถอนบ้านออกไป เพื่อดำเนินการก่อสร้างในส่วนดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามแบบแปลนที่กำหนด

ทั้งนี้ หลังมีการเจรจาร่วมกันกว่า 1 ปี ล่าสุด ศาลจังหวัดนราธิวาสได้พิพากษาคดีดังกล่าวตาม คดีหมายเลขดำที่ พ.142/2552 ว่า โจทก์ทั้ง 2 และจำเลย ซึ่งประกอบด้วย นายกาเดร์ แวดือราแม บ้านเลขที่251/86 ถ.ชลธารเขต ซ.3 ต.สุไหงโก-ลก นายรอแม ดาหะมิ บ้านเลขที่ 251/126 ถ.ชลธารเขต ซ.3 ต.สุไหงโก-ลก และ นางสาวนูรอัยณีย์ เบ็ญอาลาวี บ้านเลขที่251/93 ถ.ชลธารเขต ซ.3 ต.สุไหงโก-ลก ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ซึ่งจำเลยยินยอมให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาท

ฝ่ายโจทก์ยินยอมจ่ายเงินจำนวน 192,000 บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินในการปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นมาใหม่ และจ่ายค่าเช่าให้ฝ่ายจำเลยครอบครัวละ 2,000 บาทต่อเดือน ในการเช่าที่อยู่อาศัยระหว่างการรื้อถอนและก่อสร้างโรงเรือนใหม่ เมื่อมีข้อยุติซึ่งเป็นความยินยอมของทั้งสองฝ่าย

วันนี้ (17 ก.ย.) นายสมเกียรติ สุวรรณนิมิตร นายอำเภอสุไหงโก-ลก พร้อมด้วย นายชวลิต พรหมรา นายด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก จึงได้นำเจ้าหน้าที่ทหาร และ อส.เข้ามาดำเนินการรื้อถอนบ้านทั้ง 3 หลังดังกล่าว และเร่งปลูกสร้างบ้านให้ใหม่บนที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้านทั้ง 3 หลัง อยู่ห่างจากพื้นที่เดิมประมาณ 200 เมตร

นายชวลิต พรหมรา นายด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก เปิดเผยว่า หลังรื้อถอนบ้านในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ก็จะดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายเส้นทางเข้าประเทศไทยของศูนย์ราชการชายแดน อ.สุไหงโก-ลก เพิ่มเติมทันที โดยเมื่อแล้วเสร็จจะเปิดให้บริการแยกเป็นช่องทางขาเข้าและขาออก 2 ช่องทาง ซึ่งจะสามารถควบคุมระบบการจราจรให้เป็นไปโดยสะดวกมากยิ่งขึ้น

สำหรับโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการชายแดนซึ่งใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 162 ล้านบาท ดำเนินการไปแล้ว 96 เปอร์เซนต์ โดยหลังจากนี้คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบภายใน 6 เดือน

รฟท.สำรวจเขตทางรถไฟทั่วประเทศป้องกันบุกรุก


หัวลำโพง 26 ส.ค.52 - นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สั่งการให้ตรวจสอบเส้นทางเดินรถไฟทั่วประเทศ หลังจากได้รับรายงานว่ามีพื้นที่หลายแห่งมีการบุกรุกเข้ามาในเขตทางรถไฟ รวมถึงใช้ทรัพยากรเขตการเดินรถที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของการเดินรถได้ เช่น พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถไฟสายตะวันตก พบว่าบริเวณใกล้เคียงสถานีบ้านบางตาล มีการเข้ามาขุดทรายเพื่อนำไปขายในพื้นที่ใกล้เคียงรางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้รางรถไฟทรุดตัวได้ในอนาคตและจะกระทบต่อความปลอดภัยของการเดินรถและผู้โดยสาร โดย รฟท.จะเข้าไปตรวจสอบว่าการเข้ามาขุดทรายลักษณะดังกล่าวเป็นของเอกชนหรือหน่วยงานใด และจะประสานงานไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เข้ามาตรวจสอบว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวลุกลามในอนาคต

ในวันเดียวกันนี้ ผู้ว่าการ รฟท.เป็นประธานเปิดงาน 112 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง มีการนำภาพถ่าย 112 ภาพที่สวยงามและเป็นประวัติศาสตร์ของ รฟท.มาจัดแสดง -สำนักข่าวไทย

ปรับปรุงสัญญาเช่าที่ดินทั่วประเทศ / รัชดาฯ-จตุจักรโดนยึดระนาว


ฉบับที่ 1025 ประจำวันที่ 22-8-2009 ถึง 25-8-2009

.ฟ.ท.เปิดหวูดล้างบางสัญญาเช่าที่ดิน 17,000 สัญญาทั่วประเทศ หวังอุดช่องโหว่เพิ่มรายได้ “อิทธิพล” เผยสัญญาที่มีปัญหาไม่จ่ายค่าเช่ามากถึง 10% โดยเฉพาะย่านรัชดาฯ ผิดสัญญาถึง 5-6% เตรียมปรับเงื่อนไขอัตราค่าเช่าใหม่ ยึดหลักเกณฑ์ประเมินราคาที่ดิน ตามกรมธนารักษ์ เดินหน้าพัฒนาที่ดิน 2 แสนไร่ทั่วประเทศ มั่นใจสิ้นปีนี้โกยรายได้กว่า 2,000 ล้าน ส่วนกรณีตลาดนัดจตุจักรหลังหมดสัญญาเช่าการรถไฟฯ ทำเอง เชื่อสร้างรายได้เพิ่ม 3,000 ล้านต่อปี

ใครจะเชื่อว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ถือครองที่ดินทำเลทองจำนวนมากกว่า 36,000 ไร่ แต่กลับมีรายได้จากที่ดินน้อยมาก เนื่องจากมีการทำสัญญาเช่าระยะยาว กำหนดค่าเช่าถูก ไม่ทันต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และยังมีปัญหาทุจริตภายใน องค์กรทำให้สัญญาเช่าบางแห่งมีปัญหา และเก็บผลประโยชน์ไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการ บอร์ดร.ฟ.ท.จึงได้ให้ฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการตรวจสอบสัญญาเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท.ที่มีทั้งหมดว่า มีสัญญาหรือที่ดินแปลงใดที่มีปัญหาหรือหมดสัญญาเช่าแล้วดำเนินการหารายใหม่ไม่ได้ โดยได้ตั้งพล.ต.ท.บริหาร เสี่ยงอารมณ์ กรรมการบอร์ด ร.ฟ.ท.เป็นประธานพิจารณา

ทั้งนี้ นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า สัญญาเช่าที่ดินที่รถไฟมีกับหน่วยงานรัฐ เอกชน ประชาชน มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000-17,000 สัญญาทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งรายที่ดำเนินการถูกต้องตามสัญญา และผิดสัญญา สำหรับรายที่ทำผิดสัญญานั้น ผิดสัญญาใน 3 ประเด็นหลักๆ คือ ปัญหาค้างค่าเช่า ปัญหาเรื่องการก่อสร้าง ไม่ทัน และปัญหาจากปัจจัยภายนอก เช่น พื้นที่อยู่ในแนวเวนคืน เป็นต้น ทั้งนี้รายที่ไม่ยอมจ่ายค่าเช่าเลยประมาณ 10% ของสัญญาทั้งหมด ส่วนที่จ่ายแต่จ่ายไม่เต็ม จ่ายเพียง 80% ก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่าง การพิจารณาว่า รายได้ที่ผิดสัญญา หรือกำลังจะหมดสัญญาบ้าง โดยหลังจากที่หมดสัญญาแล้ว ร.ฟ.ท.จะปรับปรุงเงื่อนไขการเช่าที่ดินใหม่ โดยเฉพาะเรื่องอัตราค่าเช่า ซึ่งที่ผ่านมาค่าเช่าถูกมากไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทำให้รถไฟเสียประโยชน์ เนื่อง จากบางสัญญาเช่ามานานถึง 10-20 ปี จำเป็น ต้องปรับปรุงใหม่ โดยในเรื่องอัตราค่าเช่านั้น จะยึดตามตัวเลขของกรมธนารักษ์เป็นเกณฑ์พื้นฐาน ซึ่งถ้าเป็นโครงการใหม่ ร.ฟ.ท. จะปรับเพิ่มอัตราค่าเช่าประมาณ 20%

นายอิทธิพล ยังได้กล่าวถึงแผนพัฒนาที่ดินรถไฟกว่า 2 แสนไร่ทั่วประเทศ ว่า ในส่วนของแผนใหญ่นั้น ร.ฟ.ท.กำลังดำเนินการอยู่ แต่ก็มีแผนเร่งด่วนที่ต้องดึงพื้นที่ที่มีศักยภาพขึ้นมาพิจารณาก่อน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท. ซึ่งประกอบด้วย

1.พื้นที่ใกล้กับสวนรถไฟบริเวณ บริเวณ กม.11 หลังสำนักงานใหญ่ ปตท. ซึ่งมีพื้นที่อยู่ประมาณ 160 ไร่ ที่ผ่านมาได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาทำการศึกษาแล้ว โดยการพัฒนาจะแบ่งเป็น 3 โซน คือ โซนที่ 1 ทำเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่เป็นศูนย์การค้า และสปอร์ต คอมเพล็กซ์ โซนที่ 2 อาคารหอประชุม หอแสดงนิทรรศการต่างๆ และโซนที่ 3 เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมีการปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรือคอนโดมิเนียม สูง 10-16 ชั้น โดยส่วนหนึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของพนักงานรถไฟ และส่วนหนึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เพิ่ม อีกประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี

2.ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านคลองเตย ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการบอร์ดรถไฟได้ให้ ร.ฟ.ท.เร่งทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาแล้ว

3.ที่ดินย่านมักกะสัน พื้นที่ประมาณ 745 ไร่ ขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษาเดิม คาดว่าภายใน 2 เดือนนี้จะสามารถเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบอร์ดได้

4.ที่ดินแปลงย่อยๆ ซึ่งมีทั้งในส่วนของกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ทั้งนี้ในส่วนของกรุงเทพฯ ประกอบด้วย ที่ดินย่าน ถนนพระราม 9-รัชดาภิเษก-สี่แยกรัชโยธิน มีประมาณ 120 แปลง กว่า 100 สัญญา ซึ่งเป็นจุดที่ค่อนข้างมีปัญหา โดยมีรายที่ผิดสัญญาประมาณ 5-6% ซึ่งมีปัญหาทั้ง เรื่องการก่อสร้างไม่ทัน ค้างค่าเช่า และปัญหาอยู่ในแนวเวนคืน ซึ่งรายที่ผิดสัญญา ร.ฟ.ท. ก็จะนำพื้นที่กลับมาพัฒนาประโยชน์ต่อไป

สำหรับในต่างจังหวัดนั้น ขณะนี้มีอยู่ 4 แปลงที่มีศักยภาพ คือ ที่เชียงใหม่ หัวหิน อยุธยา และมหาชัย ซึ่งขณะนี้ฝ่ายบริหารกำลังจะนำเสนอเข้าบอร์ดเพื่อพิจารณาพัฒนา ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

5.ที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักร พื้นที่ประมาณ 78 ไร่ นั้น ซึ่งหลังจากที่หมดสัญญา เช่าจากกรุงเทพมหานครในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 2556 ร.ฟ.ท.จะนำพื้นที่ทั้งหมดมาบริหารเอง ก็น่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นอีกประมาณ 960 ล้านบาทต่อปี เนื่องจาก ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้รับค่าเช่าจาก กทม.เพียงปีละ 3 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่ กทม.นำพื้นที่ไปเช่าต่อให้กับผู้ค้าได้เงินจำนวนมาก

“สัญญาเช่าในตลาดนัดจตุจักรมีประมาณ 8,000 สัญญา กทม.นำไปเช่าต่อรายละ 10,000 บาทต่อเดือน บางรายก็ 20,000 บาท ต่อเดือน ถ้าเราเอามาทำเองคิดที่สัญญาละ 10,000 บาทต่อเดือน เดือนหนึ่งเราจะได้ 80 ล้านบาท ปีหนึ่งเราก็จะได้ 960 ล้านบาท ก็ได้ไม่น้อย ในขณะที่ กทม.ให้เราแค่ปีละ 3 ล้านบาท แต่เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา กทม.ขอต่อสัญญาออกไปอีก 5 ปี โดยยอมจ่ายค่าเช่า ให้การรถไฟเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านบาทต่อปี จนสิ้นสุดในปี 2556”

นายอิทธิพล กล่าวต่อว่า รายได้จากค่าเช่าที่ดินรถไฟทั่วประเทศนั้น คาดว่าสิ้นปี 2552 นี้ และหากที่ดินย่านตลาดนัดจตุจักรหมดสัญญาลงในอีก 5 ปี ร.ฟ.ท.จะทำการปรับเงื่อนไขและอัตราค่าเช่าใหม่ ก็น่าจะทำให้ การรถไฟฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี

อนึ่ง ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีที่ดินทั่วประเทศ ถึง 234,976 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินที่ใช้ในกิจการขนส่งประมาณ 198,674 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.55 ประกอบด้วยที่ดินย่านสถานี 5,333 ไร่ ที่ดินบ้านพัก 3,755 ไร่ และที่ดินที่เป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่ ส่วนที่ดินเพื่อการหาประโยชน์หรือที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ จำนวน 36,302 ไร่ หรือร้อยละ 15.45 แบ่งเป็นพื้นที่สายตะวันออก จำนวน 4,952 ไร่ สายเหนือ 4,306 ไร่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ 9,032 ไร่สายใต้ 15,186 ไร่ และพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2,825 ไร่

โดยมีที่ดินเชิงพาณิชย์ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ แปลงใหญ่กระจายอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญ เช่น ย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ ปัจจุบันแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ เช่น ให้องค์การ ตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เช่า 48.7 ไร่, ตลาดนัดจตุจักร 78 ไร่, สวนจตุจักร 190 ไร่ และที่บริเวณสนามกอลฟ์รถไฟ 375 ไร่

นอกจากนั้น ยังแบ่งให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ เช่าและทำเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ ประกอบด้วย ดอนเมืองโทลล์เวย์ 42 ไร่, ขสมก.30 ไร่, สวนหย่อม 30 ไร่, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 20 ไร่, การประปานครหลวง (กปน.) 5.7 ไร่ และ ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการสำรองบ้านพักและกิจการ รถไฟ 90 ไร่, บ.ข.ส. เช่าชั่วคราว 70 ไร่องค์การโทรศัพท์ฯ เช่า 10 ไร่

ศาลสั่งรื้อร้านค้าริมทางรถไฟหัวหิน หลังเป็นปัญหายืดเยื้อเกือบ 10 ปี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2552 15:49 น.
ตัวแทนการรถไฟแห่ง ประเทศไทย และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เข้ารื้อถอนร้านค้าริมทางรถไฟหัวหิน ที่บริษัท หัวหินพัฒนาที่ดิน จำกัด เป็นเจ้าของสัมปทานสร้างร้านค้าให้เช่า หลังศาลปกครองมีคำสั่งให้รื้อถอน
โดยก่อนหน้านี้ การรถไฟแจ้งบริษัทให้แก้ไขปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มเติมนอกเหนือสัญญา เพราะมีการล่วงล้ำเข้าไปในเขตรถไฟ ซึ่งการรถไฟจะปรับปรุงทางตัดข้ามทางรถไฟให้สัญจรได้สะดวก และเพิ่มเครื่องกั้นป้องกันอุบัติเหตุ แต่บริษัทไม่ปฏิบัติตาม และเป็นปัญหายืดเยื้อมากว่า 10 ปีแล้ว
ส่วนการรื้อถอนครั้งนี้ เจ้าหน้าที่นำรถบรรทุกมาช่วยขนของให้พ่อค้าแม่ค้า โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลความสงบตลอดการรื้อถอน ขณะที่ผู้ค้าบางส่วนไม่พอใจ และกล่าวว่า ไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน (เป็นไปอย่างไร?)

หัวหินเริ่มรื้อร้านค้าเลียบทางรถไฟสร้างรุกล้ำนอกสัญญา


ประจวบคีรีขันธ์ 19 ส.ค.52 - เทศบาลเมืองหัวหินรื้อร้านค้าเลียบทางรถไฟบางส่วนแล้วตามคำสั่งศาลปกครอง หลังปัญหายืดเยื้อมานานร่วม 10 ปี เตรียมรื้อถอนอีกร้านค้าที่เหลือ ด้าน รฟท.ระบุเป็นการรื้อในส่วนที่อยู่นอกสัญญา เพราะรุกล้ำใช้ประโยชน์ในที่ดิน

นายจิระ พงษ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมเจ้าหน้าที่กองช่างนำรถแบ็กโฮ เริ่มรื้อถอนร้านค้า 4 แห่ง บริเวณจุดตัดข้ามทางรถไฟถนนชมสินธุ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานานเกือบ 10 ปี ล่าสุดศาลปกครองพิพากษาให้รื้อถอนร้านค้าดังกล่าวที่มีบริษัทเป็นเจ้าของสัมปทานเช่าพื้นที่ของการรถไฟ สร้างร้านค้าย่อยกว่า 70 ร้าน และเปิดให้ประชาชนเข้ามาเช่าพื้นที่ค้าขาย แต่บริษัทได้ปลูกสร้างร้านค้าเพิ่มนอกเหนือจากสัญญา และต่อเติมรุกล้ำเข้าไปในเขตรถไฟ การรถไฟฯ จึงแจ้งให้บริษัทแก้ไข ขณะเดียวกันเทศบาลเมืองหัวหินขอเช่าพื้นที่ เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และทำจุดจอดรถยนต์ รวมทั้งแก้ปัญหาจุดตัดข้ามทางรถไฟให้สัญจรได้สะดวก ด้วยการขยายจาก 2 เลน เป็น 4 เลน และเพิ่มเครื่องกั้นทางแบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ซึ่ง รฟท.เห็นชอบและจัดพื้นที่แห่งใหม่อีกด้านหนึ่งประมาณ 3-4 ไร่ ไว้รองรับร้านค้าดังกล่าว แต่บริษัทฯ ไม่เห็นด้วย พร้อมดำเนินการฟ้องร้อง รฟท. และศาลปกครองมีคำสั่งให้ รฟท.รื้อถอนร้านค้าได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

นายจิระกล่าวด้วยว่า ร้านค้าที่เหลือกว่า 70 ร้านนั้น การรถไฟฯ จะดำเนินการรื้อถอนต่อ ส่วนบริเวณจุดตัดรถไฟ หลังรื้อถอนเสร็จเรียบร้อยจะต้องปรับปรุงผิวถนน และนำเครื่องกั้นทางรถไฟแบบอัตโนมัติมาติดตั้งอีก 2 เครื่อง เชื่อว่าจะแก้ปัญหาการจราจรบริเวณดังกล่าวได้แน่นอน

ด้านนายสมบูรณ์ เดชอุดม สารวัตรแขวงบำรุงทางวังก์พง รฟท. กล่าวว่า การรื้อถอนในวันนี้เป็นการรื้อถอนในส่วนที่อยู่นอกสัญญา เพราะถือเป็นการรุกล้ำใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟ ส่วนร้านที่เหลือก็จะเร่งดำเนินการตามกฎหมาย.- สำนักข่าวไทย

รมว.พม.พบชุมชนแออัดหาดใหญ่นำร่องโครงการบ้านมั่นคง


สงขลา 2 ส.ค.52 - เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (2 ส.ค.) นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่ จ.สงขลา ตรวจเยี่ยมชุมชนถัดอุทิศ เทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องโครงการบ้านมั่นคงตามนโยบายรัฐบาล โดยนายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ รายงานว่าเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีชุมชนแออัด 15 ชุมชน 645 ครัวเรือน ในจำนวนนี้มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่มั่นคง 265 ครัวเรือน จึงจะดำเนินการก่อสร้างบ้านมั่นคงขึ้นบนพื้นที่ 37 ไร่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ สำหรับประชาชนที่อยู่ในชุมชนแออัด แต่มีบ้านที่มั่นคงอยู่แล้วจะเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งระบบไฟฟ้า ประปา รวมทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อย่างชุมชนแออัดถัดอุทิศใช้แนวทางนำร่องพัฒนาในรูปแบบให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง.-สำนักข่าวไทย

เปิดกรุที่ดินรถไฟ 2.3 แสนไร่ ดึงเอกชนลงทุนปั้นรายได้ 2 หมื่นล้าน


ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4123 วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กลายเป็นคำถามคาใจหลังสหภาพรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) เปิดประเด็นที่ดิน ร.ฟ.ท.หายไปไหน 2 หมื่นไร่ จากอดีต 254,000 ไร่ ปัจจุบันเหลือ 234,976 ไร่

ขณะที่คำชี้แจงของผู้บริหาร ร.ฟ.ท. ระบุว่า ที่ดินไม่ได้หายไปไหน เพียงเปลี่ยนวิธีการสำรวจใหม่เมื่อปี 2549 จากเดิม ใช้คนสำรวจและรวบรวม มาเป็นใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนไป

ด้วยที่ดินในมือมีมูลค่ามหาศาลทำให้การจัดหารายได้จากที่ดินเป็นทางเลือก หนึ่งที่ ร.ฟ.ท.จะใช้ล้างหนี้ที่มีอยู่ 72,849 ล้านบาท ซึ่งเป็นที่มาของการจัดตั้งบริษัท บริหารทรัพย์สิน จำกัด บริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. ซึ่งถูกบรรจุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท

โดยจะดำเนินการในรูปแบบ Management Agency มีหน้าที่ดูแลบริหารจัดการที่ดิน จัดเก็บรายได้และบริหารสัญญาเช่าที่ดินทั้งหมด ซึ่งคล่องตัวกว่าในการจัดการกับผู้บุกรุก บริหาร สัญญาเช่า และเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับเอกชน

จัดประโยชน์ได้จริง 3.6 หมื่นไร่

สำหรับที่ดินทั้ง 234,976 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถ 198,674 ไร่ หรือ 84.55% (บ้านพัก 3,755 ไร่ ย่านสถานี 5,333 ไร่) ที่ดินเพื่อการหาประโยชน์ด้านการพาณิชย์ 36,302 ไร่ หรือ 15.45% (บริหารจัดการไปแล้ว 34,487 ไร่ ย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ มักกะสัน 745 ไร่) ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท/ปี ตั้งแต่ ปี 2549 และเติบโตต่อเนื่องมาตลอด

ปัญหาที่ผ่านมาคือแม้จะมีที่ดินทำเลทอง ในมือมาก แต่ทำรายได้น้อย เพราะมี จุดอ่อนในการบริหารจัดการ และถูกบุกรุกจำนวนมาก จึงต้องให้มืออาชีพเข้ามา บริหารจัดการแทน ทั้งการหาเอกชนมาเช่า และพัฒนาโดยลงทุนร่วมกัน

แต่ปัจจุบันการดำเนินการดังกล่าว ยังขึ้นตรงกับบริษัทแม่คือ ร.ฟ.ท. โดยจะจ่ายค่าธรรมเนียมบริหารจัดการให้บริษัทบริหารทรัพย์สิน 10% ของรายได้จากการหาประโยชน์ เฉลี่ยอยู่ที่ 214 ล้านบาท/ปี มีค่าใช้จ่ายที่ 104 ล้านบาท/ปี กำไรสุทธิเฉลี่ย 74 ล้านบาท/ปี

ขณะที่ประมาณการรายได้การบริหารสินทรัพย์ของ ร.ฟ.ท.ใน 15 ปี อยู่ที่ 36,313 ล้านบาท เริ่มจากปี 2553 จำนวน 1,744 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5% จนถึงปี 2567 จะอยู่ที่ 3,013 ล้านบาท

ดึงเอกชนลงทุนทำเลทอง

ตามแผนจะนำที่ดินมาให้บริษัทลูก มาบริหาร 3 ส่วน คือ 1.ในเขตกรุงเทพฯ เป็นโครงการขนาดใหญ่ ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ผลตอบแทนรวมกว่า 14,613 ล้านบาท นำร่องที่มักกะสัน 571 ไร่ เช่า 30 ปี ผลตอบแทน 1.2 หมื่นล้านบาท สถานีแม่น้ำ 279 ไร่ เช่า 30 ปี 2,265 ล้านบาท ย่านพหลโยธิน 2,983 ไร่ บริเวณ ก.ม.11 พื้นที่ 278.94 ไร่ หลังบริษัท ปตท. 17.13 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 347 ล้านบาท

2.พื้นที่ทั่วประเทศ ผลตอบแทน 751 ล้านบาท มีรัชดาฯแปลง 5-6 พื้นที่ 2.19 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 41.58 ล้านบาท เทิดพระเกียรติแปลง 1 พื้นที่ 4.78 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 75.75 ล้านบาท มหาชัย 15.43 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 66.69 ล้านบาท

พหลโยธินแปลง 5 พื้นที่ 7.92 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 222.48 ล้านบาท รัชดาภิเษกแปลง 4 พื้นที่ 0.73 ไร่ ให้เช่า 30 ปี ผลตอบแทน 6 ล้านบาท รัชดาภิเษกแปลง 9 พื้นที่ 1.09 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 22.46 ล้านบาท รัชดาภิเษกแปลง 34 พื้นที่ 0.91 ไร่ ให้เช่า 30 ปี 9.50 ล้านบาท พหลโยธินบริเวณถนนกำแพงเพชร 2 พื้นที่ 11 ไร่ พหลโยธินถนนกำแพงเพชร 6 พื้นที่ 4.96 ไร่ เช่า 20 ปี 37 ล้านบาท

เทิดพระเกียรติแปลง 2 พื้นที่ 5.87 ไร่ สถานีเชียงใหม่ ลำปาง ศิลาอาสน์ พิษณุโลก สระบุรี หนองคายใหม่ ขอนแก่น หัวหิน ท่านุ่น-พังงา

3.ต่อสัญญาเช่าเดิม ผลตอบแทน 20,133.230 ล้านบาท อาทิ พหลโยธินกับบริษัท เซ็นทรัล 47.22 ไร่ สัญญา 20 ปี 2 หมื่นล้านบาท สถานีหัวหิน 2.229 ไร่ สัญญา 10 ปี 47.24 ล้านบาท สถานีสงขลา ปาดังเบซาร์ สุไหงโก-ลก ฯลฯ

โดย ร.ฟ.ท.วาดเป้าจะมีรายได้คิดเป็นผลตอบแทนรวมไม่น้อยกว่า 21,195 ล้านบาท แต่หากบริษัทลูกยังจัดตั้งไม่ได้ที่ดินเหล่านี้ก็ยังบริหารจัดการไม่ได้

เร่งสำรวจที่ดินรถไฟทั่วประเทศ


มติชนรายวัน ฉบับที่ 11442 ฉบับวันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หารายได้ชดเชยหนี้-บำนาญ สคร.ชี้หยุดงานกระทบแอร์พอร์ตลิงก์

บอร์ดพัฒนาที่ดิน สั่ง ร.ฟ.ท.เร่งสำรวจที่ดินทั่วประเทศ เพื่อแยกประเภท พัฒนาสร้างรายได้ ตั้งจ่ายหนี้คงค้างกว่า 7 หมื่นล้านบาท และบำนาญอีกปีละ 2 พันล้านบาท สคร.เผย สหภาพแรงงาน หยุดเดินรถกระทบ วางระบบ "แอร์พอร์ตลิงก์" หวั่นไม่ทันเปิดทดลอง 5 ธ.ค.นี้

นายประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการได้สั่งให้ ร.ฟ.ท.เร่งสำรวจที่ดินทั่วประเทศ เพื่อนำมาแบ่งประเภทและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้ เพื่อชดเชยหนี้สินคงค้างกว่า 7.3 หมื่นล้านบาท และจ่ายค่าบำนาญของพนักงานที่มีกว่า 2 พันล้านบาทต่อปี

นายประกิจกล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังพิจารณาเรื่องการบุกรุกที่ดินของ ร.ฟ.ท.พบว่า มีชุมชนที่บุกรุกที่ดิน 358 ชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปี 2551 มีชุมชนที่บุกรุกถึง 250 ชุมชน จากปี 2546 ที่มีเพียง 128 ชุมชนเท่านั้น ซึ่งบางส่วนเป็นการขยายชุมชนให้ใหญ่ขึ้น บางส่วนบุกรุกพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนใหม่ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องไปดูรายละเอียดว่า แต่ละพื้นที่มีที่ดินที่ถูกบุกรุกและเป็นชุมชนใหม่จำนวนเท่าไร เพื่อรายงานให้คณะกรรมการทราบและหาแนวแก้ไขต่อไป

นายประกิจกล่าวถึงผู้บุกรุกที่อยู่ในแนวโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันว่า ชุมชนบางซื่อได้ยื่นเงื่อนไขให้ ร.ฟ.ท.ช่วยเหลือ เช่น ขอย้ายไปใช้พื้นที่บริเวณคลองต้นซุง หรือพื้นที่อื่นของ ร.ฟ.ท.แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน เพราะต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง

ด้านายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวถึงการชุมนุมประท้วงของการหยุดเดินรถไฟของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.ว่า กระทบต่อการจัดตั้งบริษัทและการจัดการวางระบบรางของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ต้องใช้เวลาในการเจรจากับสหภาพแรงงาน ทำให้งานทุกอย่างหยุดชะงัก รวมถึงการเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูของ ร.ฟ.ท.ด้วย ซึ่งจะต้องรอการเจรจากับสหภาพแรงงานให้จบก่อน อาจจะทำให้การเปิดทดลองใช้ไม่ทัน ในวันที่ 5 ธันวาคม จากที่เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งที่จะเปิดทดลองใช้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้

นายอารีพงศ์กล่าวถึงการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารสินทรัพย์ของ ร.ฟ.ท.ว่า เป็นบริษัทจำกัดที่ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% ซึ่งเป็นข้อเสนอของสภาพแรงงานว่า ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญมาบริหาร หาก ร.ฟ.ท.ไม่มีความเชี่ยวชาญพอ เพื่อสร้างรายได้ต่อปีให้มากกว่า 2 พันล้านบาท จากเดิมที่มีรายได้จากการบริหารสินทรัพย์เพียงปีละ 1.5-2 พันล้านบาทเท่านั้น ทั้งที่มีทรัพย์สินอยู่จำนวนมาก

เปิดกรุที่ดิน รฟท.ผันเป็นเงิน


ไทยรัฐออนไลน์ 8 กรกฎาคม 2552 08.15 น.
ประธานคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน รฟท. สั่ง รฟท. เร่งสำรวจที่ดินในความครอบครองทั้งหมดเพื่อจะได้จัดสรรและนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้และชดเชยหนี้สินที่คงค้างจำนวนกว่า 73,000 ล้านบาท เร่งสางปมชุมชนแห่บุกรุกพื้นที่...

นายประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ รฟท. เร่งสำรวจที่ดินในความครอบครองทั้งหมดเพื่อจะได้จัดสรรและนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้และชดเชยหนี้สินที่คงค้างจำนวนกว่า 73,000 ล้านบาท พร้อมกับนำมาจ่ายค่าบำนาญของพนักงานที่เกษียณอายุไปก่อนหน้านี้ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท

"นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ได้ให้ นโยบายแก่คณะกรรมการ รฟท.ว่า จะต้องนำที่ดินของ รฟท.ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร ซึ่งเรื่องนี้คงต้องทำความเข้าใจกับฝ่ายบริหารและพนักงาน รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ด้วยเพราะที่ผ่านมา รฟท.มีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันทรัพย์สินที่มีก็ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์"

นอกจากนี้ ได้พิจารณาเรื่องการบุกรุกที่ดิน รฟท.ของชุมชนต่างๆทั่วประเทศ ล่าสุดมีชุมชนที่บุกรุกที่ดินจำนวน 358 ชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มีชุมชนที่บุกรุกที่ดินจำนวน 250 ชุมชน ขณะที่สถิติในปี 2546 มีชุมชนบุกรุกที่ดิน รฟท.เพียง 128 ชุมชนเท่านั้น ซึ่งลักษณะของชุมชนที่เพิ่มขึ้นนั้น บางส่วนเป็นลักษณะการขยายชุมชนให้ใหญ่ขึ้น บางส่วนเป็นการบุกรุกพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนใหม่ ดังนั้น รฟท.จะต้องลงไปดูรายละเอียดว่าแต่ละพื้นที่มีที่ดินที่ถูกบุกรุกและเป็นชุมชนใหม่จำนวนเท่าไร เพื่อนำมารายงานให้คณะกรรมการทราบ พร้อมทั้งหาแนวแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ด้วย

อย่างไรก็ตาม รฟท.จะต้องพิจารณาข้อกฎหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น มติ ครม.เดิมที่อนุญาตให้ชุมชนบางแห่งสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟท.ในการพักอาศัยได้ สำหรับผู้บุกรุกที่ดินในโครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันนั้น ประชาชนที่อยู่ในชุมชนบางซื่อ ได้ยื่นเงื่อนไขให้ รฟท. ช่วยเหลือ เช่น ขอย้ายไปใช้พื้นที่บริเวณคลองต้นซุง หรือหากพื้นที่ของ รฟท. บริเวณใดมีส่วนเกินนอกเหนือจากการก่อสร้างก็จะขอใช้พื้นที่ส่วนเกินดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีราย ละเอียดที่ชัดเจนจึงได้ให้เข้าไปดูรายละเอียดอีกครั้ง

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้พิจารณาที่ดินราชพัสดุ และที่ดินในส่วนที่ให้เช่าของหน่วยงานอื่น เพื่อให้ผู้บุกรุกได้ย้ายจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้ามาอยู่ในที่ดินที่จัดสรรให้แทน ทั้งนี้ รูปแบบในการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน เป็นระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ที่มีระยะทางรวม 15 กม. ประกอบด้วย 3 สถานี คือ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ซึ่ง รฟท.ได้เริ่มกระบวนการขายซองประกวด ราคาตั้งแต่วันที่ 3-12 ต.ค. 51 พร้อมกำหนดราคากลางในการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลโครงการ โดยมีราคากลางอยู่ที่ 8,748 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 1,100 วัน หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถรองรับผู้ โดยสารไม่น้อยกว่า 35,000 คนต่อวัน และเมื่อมีการขยายโครงการไปถึงนครปฐม ก็จะสามารถรองรับผู้โดยสารถึง 65,000 คนต่อวัน.

คม.สั่ง ร.ฟ.ท.สำรวจที่ดิน


นายประกิจ พลเดช

ผู้ ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมสั่งการ ร.ฟ.ท. เร่งสำรวจที่ดินที่อยู่ในความครอบครอง เพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้...

นายประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ของการรถไฟแห่งประทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าววานนี้ (7 ก.ค.) ว่า ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ของ ร.ฟ.ท. ได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.เร่งสำรวจที่ดิน ในความครอบครอง ของ ร.ฟ.ท. ทั้งหมด เพื่อจะได้จัดสรรและนำมาพัฒนา ให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้และชดเชยหนี้สินที่คงค้างกว่า 73,000 ล้านบาท พร้อมกับนำมาจ่ายค่าบำนาญของพนักงานฯ ที่เกษียณอายุก่อนหน้านี้ ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท

นายประกิจ กล่าวต่อว่า นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบาย แก่คณะกรรมการชุดนี้ว่า จะต้องนำที่ดินของ ร.ฟ.ท.ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร ซึ่งเรื่องนี้ คงต้องทำความเข้าใจ กับฝ่ายบริหาร และพนักงานของ ร.ฟ.ท. รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เพราะที่ผ่านมา ร.ฟ.ท. มีหนี้สินจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ทรัพย์สินที่มี ก็ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

" นอกจากนี้ ได้พิจารณาเรื่องการบุกรุกที่ดิน ร.ฟ.ท. ของชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ล่าสุด มีชุมชนที่บุกรุกที่ดิน จำนวน 358 ชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มีชุมชนที่บุกรุกที่ดิน ร.ฟ.ท. จำนวน 250 ชุมชน ขณะที่สถิติในปี 2546 มีชุมชนบุกรุกที่ดิน ร.ฟ.ท. เพียง 128 ชุมชนเท่านั้น ซึ่งลักษณะของชุมชนที่เพิ่มขึ้นนั้น บางส่วนเป็นลักษณะการขยายชุมชนให้ใหญ่ ขึ้น บางส่วนเป็นบุกรุกพื้นที่ เพื่อสร้างชุมชนใหม่ ดังนั้น ร.ฟ.ท. จะต้องลงไปดูรายละเอียดว่า แต่ละพื้นที่มีที่ดินที่ถูกบุกรุก และเป็นชุมชนใหม่จำนวนเท่าไร เพื่อนำมารายงาน ให้คณะกรรมการทราบ พร้อมทั้งหาแนวแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ด้วย" นายประกิจกล่าว

การปรับปรุงกิจการ รฟท. จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อ นำที่ดิน รฟท. ออกมาใช้แทนที่จะทิ้งรกร้างไปเปล่าๆ


อารีพงศ์ บุญชะอุ่ม (หัวหน้าสำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ) ยืนยันว่า รฟท. ต้องโดนเปลี่ยนโครงสร้างถ้าอยากจะให้มีัความสามารถในการลงทุนทำทางคู่ทั่วพระราชอาณาจักร หารถจักรรถพ่วง มาใช้งานมากพอแก่ความต้องการ และ สร้างทางใหม่ที่คงค้่างไว้อยู่ แม้่ว่าการเปลี่ยนโครงสร้าง จะเป็นยาขมหม้อใหญ่ ที่สหภาพฯ รังเกียจนักรังเกียจหนา ทั้่งนี้เนื่องจาก สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ ให้เวลา รฟท. 10 ปี ในการแก้ไขตัวเองให้ได้จำนวนผู้โดยสารกลับมาอยู่ที่ Peak ในปี 2535 และมีกำไรพอชำระหนี้ได้ แต่ รฟท. ทำไม่สำเร็จ

สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจกำหนดไว้ชัดเจนว่้า รฟท. ต้องปรับปรุงส่วน core train operations จากขาดทุน 2150 ล้านบาทในปี 2009 เป็นกำไร 287 ล้านบาทในปี 2012 และ เร่้งทำกำไรให้ถึง 1240 ล้านบาทในปี 2018 เพืท่อทำให้ค่า EBITDA (Earnings before interest, taxes, depreciation and amortisation) เพิ่มจาก -3580 ล้านบาทในปี 2009 เป็น -491 ล้านบาท ในปี 2018

การที่จะทำให้ได้เป้าหมายตามนี้ ก็หนีไม่พ้นเรื่องบริหารจัดการที่ดิน รฟท. พร้อมการเพิ่มประสิทธิภาพ และ ปรับปรุงหนี้สินให้อยู่้ในระดับจัดการได้ ก่อนจะลงทุนเพิ่มให้ในหลัก แสนล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ รฟท. ต้องปรับปรุง Logistic ให้เป็นไปตามแผนการลงทุน 1 ล้าน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกด็หนีไม่พ้น การเปลี่ยนโครงสร้างขนานใหญ่ที่ สหภาพรังเกียจนัก ที่ เป็นเช่นนี้ก็เพราะ รฟท. ใช้จ่ายเงินเพียง 50% ของ งบ 1-2 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการ Rehab ทาง และ ซ่อมบำรุงรถจักร รถพ่วงและทางถาวร ทำให้ รัฐบาลแทบจะหมดความมั่นใจว่าแผนที่จะลงทุุน 195000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2010 - 2014 จะเป็็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะ รัฐบาลต้องการเห็น รฟท. จ่ายเงิน80-90% ของ งบประมาณ เพื่อใช้ในการ Rehab ทาง และ ซ่อมบำรุงรถจักร รถพ่วงและทางถาวร

สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ แจ้งว่า สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ ให้เวลา รฟท. 10 ปี ในการแก้ไขตัวเองแต่ก็ล้มเหลว ทำให้ รัฐบาลต้องมี มติครม. ออกมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 เพื่อปรับโครงสร้าง รฟท. โดยการตั้งบริษัทลูก คุมการบริหารจัดการทืี่ดินและการเดินรถ ซึ่ง บริษัทลูก คุมการเดินรถ จะต้องคุม ทั้ง Airport Link และ BKK Red line Commuter Networks ส่วน บริษัทลูก คุมการบริหารจัดการทืี่ดิน จะคุมส่วน Non-Core อันได้แก่ที่ดินรถไฟ38,604 ไร่มูลค่า 202000 ล้านบาท

แต่สหภาพ รฟท. ได้นัดหยุดงาน 2 วันโดยตั้งข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลว่า มติครม. ออกมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 เป็นแผนการขายกิจการให้เอกชน สร้างความเดือดร้อนให้ผู้โดยสาร 2 แสนคนทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ผู้วางแผนนโยบายยืนยันกลับไปว่า ถ้า สหภาพ รฟท. ไม่ยอมรับแผนตามมติ ครม. ออกมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 ก็ไม่มีเหตุึสมควรที่จะได้รับการลงทุนใหม่เป็นอันขาด

10ปี ที่ผ่านมาได้วางรางใหม่ไม่ถึง 100 กิโลเมตร ให้สำหรับเครือข่าย 4000 กิโลเมตรที่ชักจะชราภาพไปแล้ว

นอกจากนี้ การก่อสร้างสายแดง ที่ล่าช้าไป 6 เดือน เป็นข้อยืนยันว่า รฟท. เสื่อมความสามารถในการคุมการก่้อสร้างให้เป็นไปตามตารางเวลา หรือ ตามเป้าหมาย

ว่ากันตามจริงแล้ว รัฐบา่ลมีแผนให้ รฟท. ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ แต่ปี 2000 แต่ สหภาพ ไม่ยอมแผนของรัฐบาล ตอนแรกจะใช้แผนเดียวกับ ปตท. แต่สหภาพไม่ยอม ก็เลยออก แผน ใหม่ ที่ยอมให้ รฟท. มีหุ้นในบริษัทลูก 100%

ดร. อารีพงศ์ บ่นให้นักข่าวบางกอกโพสต์ว่า ทางสำนักนโบายรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าใจว่า สหภาพฯ ยังไม่เลิกนัดหยุดงานต่อต้านรัฐบาลไปเพื่ออะไร ในเมื่อ นโยบายตั้ง บริษัทลูกทั้ง 2 นี้ เป็นสิ่งที่ สหภาพฯ ได้ร้องขอมาเอง การเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุดเช่นนี้ รัฐบาลจะไม่ยอมให้สหภาพทำอีกเป็นอันขาด เพราะ รัฐบาลไม่ยอมรับข้อกล่าวหาของสหภาพว่า การตั้งบริษัทลุก 2 บริษัท เป็นแค่แผนลวงเพื่อขายกิจการ รฟท. ถ้ารั้นจะนัดหยุดงานอีก ให้ไปเพียง กับอัยการ และ ผู้พิพากษา ในศาลก็แล้วกัน

นโยบายใหม่จ้างเอกชนไล่ที่เปิดทางสร้างรถไฟฟ้า


เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 29 มิถุนายน 2552

การไล่รื้อชุมชนบุกรุก เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาที่ดินของหน่วยงานราชการ ที่มักเกิดเป็นกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนยืดเยื้อคาราคาซังกัน เห็นกันมาทุกยุคทุกสมัย

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ประสบกับปัญหาการไล่รื้อชุมชนบุกรุกในที่ดินของ รฟท. เพื่อนำที่ดินไปพัฒนาโครงการ อื่น ๆ โดย รฟท. มีที่ดินทั้งหมด 220,000 ไร่จากทั่วประเทศ เป็นที่ดินในกรุงเทพฯ ประมาณ 3,000 กว่าไร่ ที่ดินหลัก ๆ อยู่ที่ย่านพหลโยธิน 2,200 ไร่ มักกะสัน 570 ไร่ สถานีแม่น้ำย่านคลองเตย 276 ไร่ และที่เหลือเป็นที่ดินตามแนวสายทางรถไฟและสถานีรถไฟ ซึ่งที่ดินเกือบทั้งหมดของ รฟท. ถูกชุมชนบุกรุกจับจองตั้งถิ่นฐานทำมาหากินกันมานาน ขณะที่ข้อมูลจากสำนักพัฒนาชุมชน กทม. มีการขึ้นทะเบียนชุมชนไว้ทั้งสิ้น 1,981 ชุมชน เป็นชุมชนที่บุกรุกที่ดินของหน่วยงานราชการมากถึง 126 ชุมชน ซึ่งส่วนนี้เป็นเพียงจำนวนที่สำรวจและเก็บข้อมูลการขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่สมัยที่นายพิจิตต รัตตกุล เป็น ผู้ว่าฯ กทม. และเปิดโอกาสให้ชุมชนบุกรุกมาขึ้นทะเบียนได้เท่านั้น ซึ่งหลังจากนั้นไม่อนุญาตให้ชุมชนบุกรุกขึ้นทะเบียนแล้วจึงไม่มีการเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ ซึ่งน่าจะมีเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง

ตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง เพื่อพัฒนาศักยภาพการเดินทางของคนกรุงเทพฯ ลดปัญหาการจราจรติดขัด ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานของเมืองหลวง รฟท. ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่เป็นเส้นทางแกนหลักก่อสร้างตามแนวทางรถไฟเดิม โดยได้รับอนุมัติก่อสร้างเส้นทางแรก คือ รถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และอาคารผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิงก์ มีการลงนามสัญญาจ้างบริษัท ชิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้ก่อสร้างโครงการ ในวันที่ 19 ก.พ. 2548 โดยมีกำหนดเสร็จสิ้นทั้งโครงการตามสัญญาในวันที่ 5 พ.ย. 2550 แต่มาจนถึงขณะนี้คนกรุงเทพฯ ยังไม่ได้นั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เนื่องจากโครงการก่อสร้างมีความล่าช้ามาตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือ การไล่รื้อชุมชนบุกรุกตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ตั้งแต่ สถานีพญาไท ไปจนถึงทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ รฟท.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับเหมาได้ตามกำหนด ส่วนหนึ่งมาจากขั้นตอนทางระบบราชการที่ล่าช้าของ รฟท.ในเรื่องการเบิกจ่ายเงินค่าช่วยเหลือเมื่อเจรจากับชาวบ้านได้แล้ว ต้องใช้เวลาเบิกจ่ายนานถึง 6 เดือน กว่าจะนำเงินมาจ่ายชาวบ้านได้ ทำให้ชาวบ้านไม่ยอมตกลงด้วย เพราะเวลาผ่านไปนานทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงไป

รฟท. จึงใช้เรื่องดังกล่าวเป็นบทเรียนในโครงการต่อมา หลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จึงได้มีการระบุข้อกำหนดในเอกสารประกวดราคาว่า ผู้รับเหมาโครงการจะต้องทำหน้าที่ไล่รื้อชุมชนบุกรุกตามแนวสายทางโครงการด้วย เพื่อลดปัญหาเดิม ๆ ในการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาล่าช้า โดย รฟท. ให้เหตุผลว่าเอกชนมีศักยภาพในการเจรจารื้อย้ายชุมชนบุกรุกได้ดีกว่า รฟท. ซึ่งในขณะนั้นมีผู้รับเหมาสนใจยื่นประมูลโครงการนี้เพียงรายเดียว คือ กลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ชุนวู จอยต์ เวนเจอร์ และได้งานไป โดยผู้รับเหมาได้ลงพื้นที่เริ่มงานไปเมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้การรื้อย้ายมีความก้าวหน้าไปแล้ว 30% รื้อย้ายไปแล้ว 200 หลังคาเรือน เจรจาไกล่เกลี่ยไปแล้ว 800 หลังคาเรือน จากทั้งหมด 3,000 หลังคาเรือน ซึ่ง รฟท. เผยว่าเป็นความก้าวหน้าที่ดี ไม่มีปัญหาล่าช้าเหมือนโครงการแอร์พอร์ตลิงก์

ล่าสุด รฟท. เตรียมเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสาย สีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต หลังจากได้รับอนุมัติเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือไจก้า วงเงิน 23,341 ล้านบาท รฟท. ก็เริ่มเดินหน้าโครงการทันที เริ่มจากการเตรียมจ้างเอกชนเข้ารื้อย้ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินของผู้บุกรุกออกจากพื้นที่โครงการ งบประมาณ 71,043,600 บาท โดยเอกชนที่ได้งานจะต้องรื้อย้ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินของผู้บุกรุกออกจากพื้นที่โครงการในแนวทางรถไฟสายเหนือ คือ ตั้งแต่บริเวณก่อนเข้าสถานีบางซื่อ กม.6+000.00 ถึงสถานีรังสิต กม.32+350.00 จำนวนประมาณ 1,236 ครัวเรือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประกาศร่างทีโออาร์ให้ผู้สนใจเข้าแสดงความเห็นตามระเบียบพัสดุ ก่อนเปิดประกวดราคาจ้างต่อไป

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. เปิดเผยว่า นโยบายของ รฟท. ขณะนี้ คือ ใครก็ตามที่มาก่อสร้างโครงการตามแนวเส้นทางรถไฟ จะต้องรับผิดชอบงานรื้อย้ายผู้บุกรุกไปด้วย ซึ่ง รฟท. ได้รวมค่ารื้อย้ายไว้ในงบประมาณก่อสร้าง สาเหตุที่ รฟท. ไม่ไล่รื้อเอง เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาถูกมวลชนต่อต้านมาตลอด และมีขั้นตอนการเบิกจ่ายล่าช้าส่งผลให้การเจรจาไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่การจ้างเอกชนไล่รื้อจะมีประสิทธิภาพดีกว่า สามารถจ่ายค่าช่วยเหลือให้ชาวบ้านได้เร็ว โดย รฟท. จะเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เอกชนในการประสานงานเรื่องข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้งานเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง รฟท. ได้เริ่มทำมาแล้วในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งได้ผลที่น่าพอใจ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายบางซื่อ-รังสิต ที่ รฟท.ต้องจ้างเอกชนมาไล่รื้อก่อน โดยเฉพาะนั้น เนื่องมาจากข้อกำหนดของไจก้า ที่ รฟท. ต้องแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของโครงการก่อนเบิกเงินไปใช้จ่าย นั่นก็คือต้องรื้อย้ายชุมชนบุกรุกออกจากแนวโครงการ เพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าได้อย่างไม่ติดขัด แต่ทางไจก้าไม่ต้องการให้ รฟท. นำเงินกู้จากองค์กรไปจ้างเอกชนไล่รื้อชุมชนบุกรุก เพราะเกรงว่าจะเกิดภาพลบต่อองค์กรว่าให้เงินไปรื้อย้ายชาวบ้าน รฟท. จึงต้องใช้งบประมาณของรัฐบาลไทยจำนวน 71 กว่าล้านบาท จ้างเอกชนมาไล่รื้อให้เรียบร้อยก่อนให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้าพื้นที่

“การจ้างเอกชนไล่รื้อชุมชน รฟท. มีหลักเกณฑ์กำหนดเรื่องค่ารื้อย้าย ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน แต่ไม่ถึงขั้นที่จะต้องหาที่อยู่ให้ใหม่ โดยจะทำหน้าที่ประสานกับการเคหะแห่งชาติ หากชาวบ้านต้องการให้ช่วยหาที่อยู่ใหม่ เชื่อว่าเอกชนจะใช้วิธีการเจรจาอย่างละมุนละม่อม คุยกันดี ๆ ช่วยกันหาทางออก แต่หากเกิดความรุนแรงขึ้น รฟท. จะเข้าตรวจสอบเรื่องว่ามีสาเหตุจากอะไร หรือมีใครอยู่เบื้องหลังให้เกิดความรุนแรงหรือไม่” นายยุทธนากล่าว

หวังว่าการเจรจาไล่รื้อจะเกิดขึ้นในทางที่ดี เป็นไปตามหลักมนุษย ธรรม ไม่มีความรุนแรง และที่สำคัญชาวบ้านที่บุกรุกเองก็ไม่ควรดื้อแพ่ง ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม ก็จะทำให้สังคมน่าอยู่และมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีต่อไป.

ตั้งกก.3ฝ่ายแก้ปัญหา ชุมชนรุกที่รถไฟทั่วปท.


Posttoday วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คมนาคมตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายแก้ไขปัญหาชุมชนแนวก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง และชุมชนริมทางรถไฟทั่วไทย

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีตัวแทนชุมชนที่บุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท) และชุมชนที่อาศัยอยู่ในแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ–รังสิต ประมาณ 200 คน ได้ชุมนุมประท้วงหน้ากระทรวงคมนาคม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ โดยนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ได้หารือกับตัวแทนได้ข้อสรุปว่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย ประกอบด้วยตัวแทนร.ฟ.ท. กระทรวงคมนาคม และชุมชน เข้ามาแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ คณะกรรมการร่วมดังกล่าวแบ่งเป็น 2 คณะ คือ ชุมชนแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีแดง และชุมชนริมทางรถไฟทั่วประเทศ เพื่อสรุปและหารือทางออกร่วมกันต่อไป จะนัดหารือกันในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ โดยมีนาย ประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรมว.คมนาคม ทำหน้าที่เป็นประธาน

นายโสภณ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เฉพาะเรื่องของกลุ่มเครือข่ายสลัม 4 ภาค ก็กำลังจะแก้ไขปัญหาได้แล้วเสร็จ ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่อาศัยพื้นที่ของการรถไฟฯ มาเป็นเวลานานนั้น ได้ กำชับให้เจ้าหน้าที่พิจารณาและให้ความสำคัญในการหาทางช่วยเหลือ ซึ่งภายใน 1 เดือน ต้องมีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหา
__________________

สหพันธ์ฯ คนจนเมืองร้อง รฟท.ยอมให้ชุมชนทำสัญญาเช่าระยะยาว


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มิถุนายน 2552

สมาชิกสหพันธ์องค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ จากทั่วประเทศ ชุมนุมหน้ากระทรวงคมนาคม ทวงถามความคืบหน้าเรื่องเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่สหพันธ์ฯ ได้ยื่นหนังสือต่อกระทรวงคมนาคมตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และยังไม่มีความคืบหน้า
นางมะลิอร คงแก่นเท้า คณะทำงานสหพันธ์ฯ เรียกร้องให้การรถไฟฯ ดำเนินการให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ ทั้ง 356 ชุมชน รวมบ้านกว่า 40,000 หลัง สามารถเช่าที่ดินระยะยาว 30 ปี และเก็บค่าเช่าในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ คือตารางวาละ 5 บาทต่อปี
สหพันธ์ฯ ยังเรียกร้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ยุติไล่รื้อและดำเนินคดีกับชุมชนในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยให้การรถไฟฯ จัดหาพื้นที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 715 ครอบครัว ในระยะไม่เกิน 2 กิโลเมตรจากที่ดินเดิม รวมทั้งยุติการไล่รื้อและดำเนินคดีกับอีกหลายชุมชนทั่วประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาเดียวกันอยู่ในขณะนี้
ล่าสุด นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เห็นชอบในข้อเรียกร้องของสหพันธ์ฯ แล้ว โดยขณะนี้รอเพียงการลงนามอนุมัติตามข้อเรียกร้องของสหพันธ์ฯ คือให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ยอมให้ชุมชนในที่ของการรถไฟฯ ทั้ง 356 ชุมชน ทำสัญญาเช่าระยะยาว 30 ปี เก็บค่าเช่าในอัตราเดียว คือ 5 บาทต่อปีต่อตารางวา ยุติการไล่รื้อและดำเนินคดีกับชาวชุมชนทั่วประเทศที่อาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ รวมทั้งในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย

จว.ลุยพัฒนาพื้นที่"ชุมชนสระบุรี" อปท.ร่วมผุดถนนเลียบทางรถไฟ


มติชนรายวัน ปีที่ 32 ฉบับที่ 11413 วันที่ 09 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นายธนเษก อัศวนุวัตร ผวจ.สระบุรี เผยว่า ชุมชนสระบุรีมีการเติบโตค่อนข้างสูงและยังเป็นศูนย์การปกครอง การค้าและบริการระดับจังหวัด ในการวางแผนการพัฒนาจึงได้วางผังเมืองรวมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและให้มีความเหมาะสมกับสภาพที่เปลี่ยนไป โดยประกาศใช้ผังเมืองรวมสระบุรี จังหวัดสระบุรี พ.ศ.2548 แต่ยังขาดการพัฒนาให้เป็นไปตามผังเมืองที่วางไว้ โดยเฉพาะระบบคมนาคมและขนส่งของชุมชนสระบุรียังไม่สมบูรณ์ เกิดปัญหาการจราจรอย่างมาก ดังนั้น การก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟเชื่อมต่อสายบายพาสด้านทิศตะวันตกจึงมีความสำคัญ จะช่วยลดปัญหาการจราจร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า

นายอุกริช พึ่งโสภา รอง ผวจ.สระบุรี กล่าวว่า โครงการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟนั้น ถนนส่วนหนึ่งจะอยู่ในเขตของการทางรถไฟแห่งประเทศไทย และบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสระบุรีซึ่งเทศบาลจะสนับสนุนงบฯก่อสร้าง และยังอยู่ในเขต อบต.ดาวเรือง ด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ทาง อบจ.สระบุรี ได้สนับสนุนงบฯทั้งสิ้น 18,203,420 บาท

บริบทว่าด้วย...ที่ดิน ‘ร.ฟ.ท.’


สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1002 ประจำวันที่ 3-6-2009 ถึง 5-6-2009

การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรของประ ชาชนคนไทย ถูกตีกรอบจำกัดระหว่าง คนมั่งมี กับคนยากจน ที่นับวันจะมีความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้นทุกขณะ

ปัญหาการเข้าถึงที่ดินทำกิน หรือทรัพยากรต่างๆ ของประชาชน จำเป็นอย่าง ยิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งรีบสะสางให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน

ในขณะที่รัฐบาลมีแนวคิดผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไอเดียที่ว่า มีดำริมาหลายสมัยรัฐบาลแล้ว ทว่าไม่มีรัฐบาลใดสามารถดำเนินการผ่านกฎหมาย บังคับใช้ได้ เนื่องจากผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง ต่างเป็นผู้ที่ถือครองที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์สิ่งปลูกสร้างอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นเอง

ระหว่างที่กระทรวงการคลังมีนโยบาย ที่จะปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีนโยบายพัฒนาที่ดินสาธารณะให้เกษตรกร เช่าไร่ละ 10 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี และยังมีแผนให้หน่วยงานภาครัฐที่มีที่ดิน อยู่ในครอบครองดำเนินการพัฒนาพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริม ประชาชนมีพื้นที่ทำมาค้าขาย

การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรม ธนารักษ์ จึงกลายเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลไปโดยปริยาย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงพระราชทานที่ดินจำนวนมากเพื่อวางรากฐานการรถไฟแห่งประเทศไทยใช้เป็น พื้นที่ รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับ พสกนิกรของพระองค์ ตลอดระยะเส้นทาง ม้าเหล็กอันมีไม้หมอนทอดยาวเหนือจรด ใต้ อีสาน และตะวันออก

เวลาผันผ่านปณิธานอันแรงกล้าของ องค์เหนือหัวจอมกษัตริย์ไทย กลับถูก สั่นคลอนไปกับกาลเวลา พื้นที่ส่วนใหญ่ตกอยู่ในการครอบครองของ “นายทุน” บ้างก็ปล่อยให้รกร้างตามมีตามเกิด ครั้นคนหาเช้ากินค่ำเข้าไปใช้พื้นที่เพื่อยังประ โยชน์เลี้ยงปากเลี้ยงท้องพอจะลืมตาอ้าปากได้ เมื่อกลุ่มนายทุนเพ่งเล็งเห็นว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทำเลทอง สามารถผุดโครงการขนาดใหญ่ได้ ประชาชนคนหาเช้า กินค่ำเบี้ยน้อยหอยน้อย ก็มักจะตกอยู่ใน วังวนเดิมๆ ถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นผู้กระทำ ผิดกฎหมาย บุกรุกสถานที่ราชการ ทั้งที่ในความเป็นจริงพวกผู้ค้าเหล่านี้ มีหนังสือ สัญญาเช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศ ไทยโดยตรง บ้างก็เช่าช่วงมาอีกทอดหนึ่ง

ปัญหาการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรระหว่าง “คนรวย” กับ “คนจน” จึงมีความเหลื่อมล้ำอย่างน่าเศร้าสลดใจ...!!!

ทำให้เกิดคำถามว่า คนมีอำนาจ หรือคนรวย สามารถใช้อำนาจเงินกระทำผิดโดยไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายบ้าน เมืองหรือ ผู้มีอำนาจบารมีหลายคนเลือก ที่จะรวยทางลัด เอาที่ดินรัฐไปเล่นแร่แปร ธาตุ เป็นข้อกล่าวหาที่ต้องอดใจรอให้ศาล สถิตยุติธรรมพิจารณาเอาความ

“ลูบๆ คลำๆ” มองลอดแว่น กรณีหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง เปิดประเด็น ถึงการเข้าไปใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 35 ไร่ ย่านขนส่งหมอชิต 2 และยังอ้างว่ามีคนมีสี สมคบกับ “มาเฟีย” เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่แสวงหาประโยชน์แบ่งพื้นที่ให้เอกชน เช่าเปิดร้านอาหาร รวมถึงสถานีบริการก๊าซ เอ็นจีวี และยังใช้พื้นที่ว่างเปล่าเป็นสถาน ที่จอดรถตู้ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ

สื่อฉบับดังกล่าว

กล่าวอ้างถึงคนมีสีจากกองทัพมาเฟีย และคนในวงการข่าว ที่ถูกจำกัดความว่า “เป็นนักข่าวปลายแถว”

ต้องชื่นชมในความเป็นสื่อมวลชน ที่อาสาเป็น “แมลงวัน” ตรวจสอบพวกเดียวกัน เหมือนกับการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาลตรวจสอบการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล อย่างถึงอกถึงใจกันอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นความงดงามส่วนหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์และน่าติดตามเป็น อย่างยิ่ง

ทว่าในความเคลื่อนไหวที่ดังอื้ออึงอยู่ในห้วงเวลานี้ ต้องไม่ลืมว่า ผลประโยชน์จากกรรมสิทธิ์ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ควรตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง หาใช่การโยกย้ายถ่ายเทเพื่อผลประโยชน์ของเหล่า นักการเมือง หรือนายทุน

ที่สำคัญการรถไฟแห่งประเทศไทย และรัฐบาลควรให้ความเป็นธรรม กับผู้เช่าระดับรากหญ้า มากกว่ากลุ่มทุนที่ใช้อำนาจวาสนาทางการเมืองบีบ รัดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและหมู่คณะ

บริบท “แมลงวันสายพันธุ์ใหม่” ใครจะเป็นสื่อปลายแถว ต้นแถว สื่อแท้ สื่อเทียม ก็ขอให้เป็นผู้ที่เจริญอยู่ในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ความอัปยศของคนข่าวอย่างเราๆ ไม่ใช่การเข้าไปลงหุ้นเปิดร้านขายอาหารเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นวิถีสุจริตชน หากแต่การทำงานตาม “ใบสั่ง” หรือการรับสินจ้าง ต่างหาก เหล่านี้ย่อมถูกตราหน้าเป็นผู้ “ทรยศ” ต่อวิชาชีพที่น่าละอายใจที่สุด

“ชาวสลัม 18 ชุมชน” ยื่นหนังสือต่อ “พร้อมพงศ์” หลังโดนไล่ที่เพื่อเอาไปสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2552 15:17 น

ตัวแทนชาวสลัม 18 ชุมชน ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือต่อ “โฆษกเพื่อไทย” หลังโดนฟ้องไล่ที่ เพื่อนำไปสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ระบุหากไม่ย้ายออกต้องเสียค่าปรับวันละ 50,000 บาท ขณะที่ “โฆษกไข่แม้ว” รับปากจะส่งเรื่องให้หัวหน้าพรรค-ประธานวิปฝ่ายค้านทราบ เพื่อตั้งกระทู้ถามสดรัฐบาลในสภาต่อไป

วันนี้ (31 พ.ค.) ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ตัวแทนชาวสลัม 18 ชุมชน กว่า 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือขอความช่วยเหลือ หลังจากได้รับผลกระทบจากการสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของรัฐบาล โดยระบุในหนังสือขอความช่วยเหลือ ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้มอบอำนาจให้บริษัทก่อสร้างซึ่งเป็นคู่สัญญา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลให้มีการขับไล่ชาวสลัม 18 ชุมชนออกจากที่อยู่อาศัย ที่อยู่กันมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยหากไม่ทำตามจะต้องเสียค่าปรับวันละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ฟ้อง จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวกว่า 10,000 คน หรือประมาณ 3,000 ครัวเรือน ต้องได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร ดังนั้น วันนี้ จึงจำเป็นต้องเดินทางมาร้องเรียนต่อพรรคเพื่อไทย ให้มีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เป็นผู้รับหนังสือและกล่าวว่า จะส่งเรื่องไปให้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้านทราบ และจะมีการตั้งเป็นกระทู้ถามรัฐบาลในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สลัมริมทางรถไฟวอน พท.ช่วย หลังถูกฟ้องไล่ที่


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2552 12:06 น.

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หามาตราการจัดการแก้ปัญหาราคาน้ำมันตลาดโลกที่สูงขึ้น เพราะประชาชนได้รับความเดือดร้อน ภายหลังจากรัฐบาลขึ้นภาษีน้ำมันเป็นลิตรละ 5 บาท
ขณะเดียวกันตัวแทนชาวสลัม 18 ชุมชน ที่อาศัยบริเวณชุมทางรถไฟบางซื่อ ถึงสถานีชุมทางตลิ่งชัน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายสร้างเส้นทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ซึ่งถูกบริษัทก่อสร้างคู่สัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย ยื่นฟ้องต่อศาลขับไล่ออกจากบริเวณดังกล่าว ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยพรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมสภาและจะตั้งกระทู้ถามสดรัฐบาลด้วย

ผู้ว่าการรถไฟฯลงเคลียร์ปัญหานายทุนรุกที่ชุมชน


ไทยรัฐ - 27 พฤษภาคม 2552

ผลการเจรจา2ฝ่ายยินดีถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกมา ขณะที่ทางชุมชนกลุ่มสลัม4ภาคพอใจผลการหารือ หวังปัญหาการรุกล้ำที่ดินจะได้ยุติเสียที ...

ตามที่ชาวบ้านชุมชนเทพารักษ์ 5 นำโดยนายจิตติ เชิดชู ประธานกรรมการชุมชนเทพารักษ์ 5 ในฐานะประธานเครือข่ายฟื้นฟูประชาสร้างสรรค์ และประธานสลัม 4 ภาค รวมตัวเรียกร้องให้นายนิพนธ์ สมบัติธรรม เจ้าของร้านเซียงกง สินอุดม และนายศักดิ์ดา ภควณิช ออกจากที่ดิน และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของชุมชนเทพารักษ์ 5 (จังหวัดขอนแก่น) ซึ่งได้ทำการเช่ากับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2547 แต่ปรากฏว่าทั้ง 2 ได้ก่อสร้างแนวรั้วล้อมพื้นที่ไว้ตั้งแต่เดือน ม.ค.2548 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการรื้อถอนแต่อย่างใด ความขัดแย้งดังกล่าวได้ลุกลามบานปลายมาจนถึงชั้นศาล

ล่าสุดวันนี้ (24 พ.ค.) นายยุทธนา ทับเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เดินทางลงพื้นที่ เพื่อเจรจากับนายนิพนธ์ สมบัติธรรม และนายศักดิ์ดา ภควณิช โดยนายยุทธนา กล่าวว่า เนื่องจากทางชุมชนในนามกลุ่มสลัม 4 ภาค ได้ขอเช่าพื้นที่การรถไฟ โดยผ่านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช. ซึ่ง พอช.ได้ขอเช่าครั้งละ 3 ปี โดยครั้งแรกปี 2547 ครบกำหนดปี 2550 ซึ่งยังเข้าพื้นที่ไม่ได้ก็ต่อให้อีก 3 ปี ครบปี 2553 เมื่อชาวบ้านเข้าพื้นที่ไม่ได้ ทางการรถไฟฯ ฟ้องร้องบังคับคดีให้ ซึ่งมี 2 ราย คือ นายนิพนธ์ สมบัติธรรม และนายศักดิ์ดา ภควณิช โดยทางรถไฟฯ เจรจาให้ถ้าทั้ง 2 ไม่ออกไปจะต้องออกหมายจับ ตนได้เจรจากับทั้ง 2 แล้ว พบว่า ทั้ง 2 ยินดีถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไป และจะส่งมอบให้การรถไฟฯ ซึ่งจะส่งมอบให้กับ พอช.ต่อไป จากนั้นจะให้การเคหะฯ และ พอช.ร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่นี้ต่อไป

ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มว่า ส่วนของนายศักดิ์ดา จะรื้อถอน และส่งมอบในวันที่ 26 พ.ค. ขณะเดียวกันนายนิพนธ์ มีการบังคับคดีช้า ทางการรถไฟฯ จะหาทางเจรจาให้มีการส่งมอบให้ได้พร้อมกัน ซึ่งทางการรถไฟฯ จะถอยกันคนละก้าว สังคมจะไม่มีปัญหา ข้อพิพาทจะยุติไปในที่สุด

นายจิตติ เชิดชู ประธานสลัม 4 ภาค ในฐานะประธานกรรมการชุมชนเทพารักษ์ 5 กล่าวว่า ภายหลังจากที่ผู้ว่าการรถไฟฯ เดินทางมาเจรจา ทางชาวบ้านรู้สึกพึงพอใจ พร้อมคาดหวังว่า ปัญหาการรุกล้ำที่ดิน จะได้ยุติเสียที เพราะที่ผ่านมา มีการดึงเวลากันมาโดยตลอด เช่น เมื่อวันที่ 28 เม.ย. นายทุนทำทีท่าว่า จะขนย้ายสิ่งของ และสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่พอสื่อมวลชนเดินทางกลับ ก็หยุดการขนย้ายทันที ดังจะเห็นว่า วันนี้รั้วสังกะสียังคงอยู่เหมือนเดิม ทางชุมชน เสียค่าเช่าปีละ กว่า 2 แสนบาท คาดหวังว่าจะได้เข้าอยู่อาศัยบนพื้นที่แห่งนี้

ผู้ว่าฯ รฟท.รับปากแก้ปัญหาสลัม 4 ภาค ภายใน 30 วัน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤษภาคม 2552 16:06 น.

ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาคประมาณ 100 คน เดินทางมาร่วมชุมนุมกันหน้ากระทรวงคมนาคม เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดที่อาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการถูกเวนคืนที่ดิน โดยนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวภายหลังหารือกับกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องบริเวณหน้ากระทรวงคมนาคม กรณีเดือดร้อนจากปัญหาการเช่าที่ รฟท.ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องต่อ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ รฟท.เร่งจัดการแก้ไขปัญหาการเช่าที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยของคนจนทั้งชุมชนที่ผ่าน ทด.3 และชุมชนที่ไม่ผ่าน ทด.3 กรณีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง กรณีบุกล้ำที่เช่าชุมชนเทพารักษ์ รวมถึงกรณีการขอปรับอัตราค่าเช่าพื้นที่สร้างศูนย์พักคนไร้บ้านชุมชนบางกอกน้อย

สำหรับข้อเรียกร้องปัญหาเช่าที่ดินนั้น รฟท.จะเร่งดำเนินการพิจารณาแก้ไขให้เสร็จภายใน 30 วัน เนื่องจากที่ผ่านมามีชุมชนที่ขอเช่าที่ของ รฟท.มากถึง 61 ชุมชน การจัดการจึงเกิดความล่าช้า และจะให้ความยุติธรรมในการตรวจสอบปัญหาอื่นๆ รวมถึงปัญหาขึ้นค่าเช่าที่สร้างศูนย์บ้านบ้านพักคนไร้บ้าน รฟท.จะนำเรื่องไปพิจารณาแก้ไขร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภายใน 60 วัน นอกจากนี้ ยังรับปากตัวแทนสลัม 4 ภาคว่าจะเดินทางไปพบกลุ่มผู้เดือดร้อนด้วยตนเองที่จังหวัดขอนแก่นภายใน 7 วัน และกลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้สลายการชุมนุมในเวลา 13.30 น.

คมนาคมทุ่มงบ4หมื่นล้านบาท ชงรัฐพัฒนาฝั่งทะเลตะวันออก


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2422 30 เม.ย. - 02 พ.ค. 2552

สำหรับโครงการที่เสนอในเบื้องต้นนั้น มีจำนวน 26 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 40,650.491 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการด้านการขนส่งทางราง 3 โครงการ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้แก่

1. โครงการทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย งบประมาณ 10,945.49 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2553-2556,
2. โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายมาบตาพุด-ระยอง และ แนวทางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง-ระยอง (สามเหลี่ยมเขาชีจรรย์? ทางคู่ถึงระยอง?) ซึ่งขณะนี้กำลังประเมินมูลค่าการลงทุนและระยะเวลาดำเนินการ และ
3. โครงการปรับปรุง ICD ลาดกระบัง งบประมาณ 15,119.62 ล้านบาท

ดึงเอกชนพัฒนาที่ดินกทม. รฟท.หวังโกยรายได้หมื่นล้าน


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2419 19 เม.ย. - 22 เม.ย. 2552
Posted: 22/04/2009 3:40 pm Post subject: ดึงเอกชนพัฒนาที่ดินกทม. รฟท.หวังโกยรายได้หมื่นล้าน

--------------------------------------------------------------------------------

ดึงเอกชนพัฒนาที่ดินกทม. รฟท.หวังโกยรายได้หมื่นล้าน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2419 19 เม.ย. - 22 เม.ย. 2552
http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R3524202&issue=2419

รฟท. เล็งระดมทุนผ่านพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ ให้เอกชนรายใหญ่ร่วมลงทุนที่ดิน แปลงงามทั่วกรุง 1,300 ไร่ โกยรายได้กว่าหมื่นล้าน โฟกัสทำเลศักยภาพ รัชดาฯ-พระราม9 - กม.11- แม่น้ำ -บางซื่อ ผุดตึกสูง ที่พักอาศัย ออฟฟิศ โรงแรม คอมเพล็กซ์ เดินหน้าชงกรมโยธาฯปรับสีผังจากสีน้ำเงินเป็นแดงเพิ่มศักยภาพ

แหล่งข่าวระดับสูงจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้การรถไฟฯได้ พิจารณาปรับแผนพัฒนาที่ดินทั้งหมด ตามที่คณะกรรมการ (บอร์ด รฟท.) มอบหมายเพื่อหารายได้เข้าองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะ ที่ดินที่มีศักยภาพในเขตกรุงเทพมหานคร(กทม.) ที่มีอยู่ประมาณ 11 แปลง เนื้อที่ 1,300 ไร่ โดยได้เสนอของบประมาณ ปี 2553 ( ตุลาคม 2552 - กันยายน 2553) วงเงิน 8-9 ล้านบาท เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมทั้งออกแบบรายละเอียด ตามความเหมาะสมของทำเล และประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

"จากนั้น การรถไฟฯจะร่างทีโออาร์ (บันทึกข้อตกลงเบื้องต้น) เปิดให้เช่าระยะยาว 30ปี ซึ่ง เบื้องต้นได้กำหนดกรอบการพัฒนาให้เป็น ทั้งที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม คอมเพล็กซ์ เป็นต้น โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ ซึ่งประเมินว่าแต่ละแปลงจะมีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 10,000 ล้านบาทขึ้นไป"แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับรูปแบบการพัฒนาที่ดินนั้นการรถไฟฯ จะใช้วิธี ระดมทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) เพื่อนำเม็ดเงินมาลงทุนในโครงการดังกล่าว โดยเอกชนจะดำเนินการขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะ ที่ดินแปลงใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ได้แก่

1. ที่ดินซึ่งปัจจุบันเป็นบ้านพักของเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ บริเวณกม.11 ถนนวิภาวดี-รังสิต จำนวน 425 ไร่ ที่ดิน
2. บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ซึ่งมีที่ดินรัศมีโดยรอบ 600 ไร่
3. ที่ดินย่านมักกะสัน 100 ไร่
4. ที่ดินบริเวณสถานีแม่น้ำ ย่านพระรามสาม 200 ไร่


นอกจากนี้ ยังมีที่ดินแปลงเล็กที่มีศักยภาพอีกหลายแปลงที่สามารถเปิดประมูลได้ทันที ได้แก่ที่ดิน ย่านถนนรัชดาภิเษก เกือบ 10 แปลง เช่น

1. บริเวณ ถนนรัชดาภิเษก ตัดกับถนนวิภาวดี-รังสิต ด้านข้างขึ้นสะพานข้ามแยกรัชโยธิน หรือใกล้กับธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ จำนวน 3 แปลงเนื้อที่ 9 ไร่
2. ที่ดินแปลงที่ 34 ใกล้กับสถานีตำรวจพหลโยธิน 1 แปลง เนื้อที่ กว่า 1 ไร่
3. ที่ดินแปลงที่ 120 ติดกับโรงแรมดิเอมเมอรัล 1 แปลง
4. เนื้อที่กว่า1 ไร่ ที่ดินบริเวณถนนเทิดพระเกียรติ 2 แปลง 8 ไร่ ซึ่งอยู่บริเวณ จุดตัดระหว่างถนนรัชดาภิเษก กับถนนพระราม9 ย่านอาร์ซีเอ ของทั้งสองฝั่งถนน

ซึ่ง ขณะนี้ที่ดินทั้ง 2 แปลง มี เอกชนสนใจจำนวนมากกว่า 10 ราย ไม่ว่าจะเป็นสถานบริการอาบอบนวด ศูนย์ประชุม ฯ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับผลตอบแทนนั้นการรถไฟฯได้กำหนด เพดานขั้นต่ำของรายได้ ที่จะได้รับ ไว้ที่ 42% ของ มูลค่าที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการรถไฟฯ ฉบับที่ 129 (เช่า 30 ปี) แยกเป็นค่าธรรมเนียมจากการจัดประโยชน์ 30 % ส่วนสัดส่วนที่เหลือจะกระจายเป็นค่าเช่า ซึ่งผู้ประมูล อาจตั้งราคาผลตอบแทนให้การรถไฟฯสูงกว่าที่ตั้งไว้42% ได้ หากใครให้ผลตอบแทนที่ดีก็ได้ที่ดินไป โดยมีเงื่อนไขว่า พื้นที่พัฒนา จะต้องมีขนาดตั้งแต่ 4,500 ตารางเมตรขึ้นไป ส่วนความสูงไม่จำกัด และหากมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องเข้าพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุน พ.ศ. 2535 ขณะเดียวกันการรถไฟฯได้เสนอกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อขอปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละแปลง จาก พื้นที่สีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทใช้ในกิจการหน่วยงานราชการ) เป็นพื้นที่สีแดง(ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม)

รฟท.ฟื้นแผนพัฒนาคอนโดบางซื่อ


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2419 19 เม.ย. - 22 เม.ย. 2552

การรถไฟฯ ปัดฝุ่นแผนผุดคอนโดบางซื่อ หลังดองมาเป็นปี เหตุสตง. เบรกไม่เห็นด้วยกับโครงการ ด้านผู้บริหารเตรียมจ้างที่ปรึกษาศึกษาแผนการลงทุนใหม่ ผุดโครงการคอนโดมิเนียมขายพนักงานในราคาถูก พ่วงขายให้ประชาชนทั่วไปด้วย ด้านประธานบอร์ดคล้อยตาม แต่ย้ำต้องทำโปร่งใส

นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว ผู้อำนวยฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้การรถไฟฯ กำลังเตรียมจัดทำร่างข้อกำหนด (ทีโออาร์) ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อทำการศึกษาแผนพัฒนาที่ดินบริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ย่านตึกแดง ริมคลองเปรมประชากร บนพื้นที่ 105 ไร่ เป็นที่พักอาศัย โดยจะศึกษาถึงรูปแบบโครงการว่าจะพัฒนาอย่างไร พร้อมความเหมาะสม เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย พร้อมพิจารณาว่าจะทำเป็นที่พักอาศัยสำหรับพนักงานการรถไฟฯ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ที่มักกะสัน และ ที่ กม.11 ให้ได้ย้ายเข้ามาอาศัยร่วมกัน เพื่อเก็บค่าเช่าราคาถูก หรือควรจะพัฒนาเป็นรูปแบบร่วมคือแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้พนักงานการรถไฟฯ เช่าในราคาถูก แล้วอีกส่วนหนึ่งเปิดขายให้ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ต้องพิจารณาเรื่องของรูปแบบการลงทุนและมูลค่าการลงทุน รวมถึงผลตอบแทนที่การรถไฟฯ จะได้รับด้วย

อย่างไรก็ดีเบื้องต้นมีแนวคิดว่าจะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมองรูปแบบการลงทุนไว้ 2-3 รูปแบบ อาทิ รูปแบบแรกคือให้เอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้าง ดูแลรับผิดชอบ รวมถึงทำหน้าที่ในการขายด้วย แล้วจำหน่ายให้การรถไฟฯ ในราคาถูก

ส่วนแบบที่สอง จะให้สิทธิเอกชนดำเนินการพัฒนา ก่อสร้าง หารายได้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ จะให้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง มาจ่ายแทนค่าเช่าและค่าธรรมเนียม เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟฯ ส่วนพื้นที่ที่เหลือเอกชนสามารถที่จะนำไปขายหารายได้กับประชาชนทั่วไปได้ หรืออีกทางหนี่ง คือจ้างก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แล้วทางการรถไฟฯ จะเข้าไปดูแลเอง

นายภากรณ์กล่าวโดยคาดว่าจะสามารถประกาศทีโออาร์จ้างที่ปรึกษาในอีก 2 เดือนข้างหน้า จากนั้นจะให้เร่งดำเนินการภายใน 6-8 เดือน แล้วเสนอผลการศึกษาให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติรูปแบบโครงการเป็นลำดับต่อไป

ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมสำหรับพนักงานการรถไฟฯ ซึ่งขณะนี้มีกระจายอยู่หลายแห่ง อาทิ ที่มักกะสัน ที่บริเวณกม.11 อีกทั้งยังต้องการที่จะยกระดับที่พักอาศัย และความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีขึ้นด้วย โดยในครั้งนี้จะดำเนินการศึกษาอย่างจริงจัง ให้มีผลการศึกษารองรับ ไม่ให้เกิดปัญหา หรือมีข้อสงสัยจนต้องถูกระงับการดำเนินโครงการไปเหมือนครั้งก่อน ซึ่งในครั้งนี้คงจะดำเนินการพัฒนาภายใต้ระเบียบการร่วมทุน ที่คาดว่าจะใช้มูลค่าสูง แต่การรถไฟฯไม่พร้อม จึงต้องใช้แนวทางให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

ด้านนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวแสดงความเห็นว่า ได้ทราบถึงความเป็นมาของแนวคิดก่อนหน้านี้ที่จะทำร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) มาบ้างแล้ว ซึ่งบอร์ดเองก็เคยได้คุยกับผู้บริหารการรถไฟฯอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นทางการ ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดหรือสั่งการอะไรลงไป และเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดี ที่จะทำให้โครงการเกิดขึ้นเพื่อมอบให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงานการรถไฟฯ รวมถึงยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่ดินที่มีอยู่ และสร้างประโยชน์ต่อการรถไฟฯเองด้วย แต่การดำเนินการนั้น จะต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ การรถไฟฯ มีแนวคิดที่จะพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวอยู่แล้ว โดยได้มีแผนจะดำเนินการร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เพื่อพัฒนาเป็นโครงการที่พักอาศัยเป็นห้องชุดอาคารสูง จำนวน 10,000 ยูนิต มูลค่าลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยจะให้เช่าเป็นเวลา 30 ปี ค่าเช่าตารางเมตรละ 7-20 บาท ขนาด 32-40 ตารางเมตร ราคาขายประมาณ 550,000 บาท หรือตารางเมตรละ 10,000 บาท แต่ต้องชะลอโครงการไป เนื่องจากถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่ชอบมาพากล รวมทั้งยังแสดงความเห็นว่ายังไม่เห็นความเหมาะสมที่จะดำเนินการ ทำให้การรถไฟฯ ชะลอโครงการออกไป

รฟท.ปัดฝุ่นพัฒนาที่ดิน3แปลง บอร์ดสั่งนำร่อง 'ย่านมักกะสัน' / ย่านพหลฯ-ช่องนนทรี คิวต่อไป


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2418 16 เม.ย. - 18 เม.ย. 2552

บอร์ดการรถไฟฯ รื้อแผนพัฒนาที่ดิน 3 แปลงใหญ่ จี้พัฒนาที่ดินย่านมักกะสันเป็นลำดับแรก เพื่อรองรับแอร์พอร์ตลิงค์ ที่จะเปิดให้บริการในปีนี้ สั่งเร่งรีไรต์แผนแม่บทเพื่อกำหนดความชัดเจนก่อนตัดสินใจลงทุน ส่วนที่ดินย่านพหลโยธิน-สถานีแม่น้ำ เล็งพัฒนาเป็นเฟส 2 และเฟส 3 เร่งพัฒนาที่ดินย่านสถานีทั่วประเทศ

นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้บอร์ดได้สั่งการให้ผู้บริหารการรถไฟฯ ไปเร่งดำเนินการจัดแผนพัฒนาที่ดิน3 แปลงใหญ่ของการรถไฟ ประกอบด้วย

ที่ดินย่านพหลโยธินที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) และที่ดินย่านมักกะสันเพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มและนำรายได้ที่ได้มาพัฒนาองค์กรชดเชยการขาดทุน

ทั้งนี้ในระยะแรกได้สั่งการให้เร่งทบทวนแผนการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันก่อนเนื่องจากที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณเดียวกับสถานีมักกะสันของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเป็นทางการภายในปี 2552 นี้ เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพของแอร์พอร์ตลิงค์ และเป็นการเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกต่อประชาชนและผู้มาใช้บริการด้วยโดยให้การรถไฟฯ เร่งทบทวนแผนแม่บทที่เคยศึกษาไว้ว่ายังคงใช้ได้หรือไม่ จะต้องปรับเปลี่ยนรายละเอียดอย่างไร จะมีรูปแบบการลงทุนอย่างไร รวมถึงเรื่องของมูลค่าการลงทุนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรอบคอบด้วย

ส่วนที่ดินบริเวณย่านสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) และที่ดินย่านพหลโยธินนั้น ให้เร่งพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร หากยังไม่มีผลการศึกษา หรือยังไม่มีแผนแม่บทก็ให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้กำหนดทิศทางในการดำเนินการให้ชัดเจนและเร่งดำเนินการพัฒนาเป็นระยะที่ 2 จากนั้นให้นำที่ดินตามสถานีต่างๆ มาพัฒนาเป็นระยะต่อไป

"บอร์ดได้สั่งการให้ผู้บริหารการรถไฟฯ ไปเร่งดำเนินการพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ทั้งหมดเลย

โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะสำคัญ และได้กำชับให้เร่งทำเลยโดยไม่ต้องรอแผนฟื้นฟู

หรือรอให้การจัดตั้งบริษัทลูกพัฒนาทรัพย์สินแล้วเสร็จ เพื่อให้การพัฒนาที่ดินบริเวณต่างๆ สอดรับกับบริษัทลูกที่จะจัดตั้งขึ้นมาในอนาคต ส่วนของที่ดินที่มีแผนการพัฒนาอยู่แล้วอย่างที่ดินมักกะสัน ก็ให้รีไรต์แผนแม่บทใหม่ แล้วเร่งดำเนินการให้เร่งปัดฝุ่นแผนพัฒนาอีกครั้งและให้ทำอย่างเป็นรูปธรรม"

นายถวัลย์รัฐ กล่าวอีกว่า ในส่วนของแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟฯนั้น ขณะนี้ได้ทำความเข้าใจ ชี้แจงรายละเอียด กับทุกฝ่ายเรียบร้อยแล้ว และเชื่อว่าจะสามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้ประมาณวันที่ 21 เมษายนนี้ และหากได้รับความเห็นชอบก็จะเร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกในทันที

ขณะที่ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้รับทราบแผนการพัฒนาที่ดิน หรือแผนอื่นๆ จากการรถไฟฯ ซึ่งในเร็วๆ นี้ สนข. จะไปติดตามและเร่งรัดในทุกด้าน ทั้งด้านการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่รวมถึงแผนการพัฒนาที่ดินและอื่นๆ ด้วย เพื่อเป็นการติดตาม และคอยดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและเพื่อการพัฒนาองค์กร

อนึ่งที่ดินของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ มีจำนวน 234,976 ไร่ ประกอบด้วย

ที่ดินที่ใช้รองรับภาร กิจหลักขององค์กร 198,674 ไร่
ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ 36,302 ไร่
ที่ดินย่าน สถานี 5,333 ไร่
ที่ดินบ้านพัก 3,755 ไร่ และ
ที่ดินที่เป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่

สำหรับที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้จำนวน 36,302 ไร่ นั้น แบ่งเป็นพื้นที่บริเวณสายตะวันออกจำนวน 4,952 ไร่
สายเหนือ 4,306 ไร่
สายตะวันออกเฉียงเหนือ 9,032 ไร่
สายใต้ 15,186 ไร่
และพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2,825 ไร่ ซึ่งยังมีพื้นที่ที่สามารถนำมาพัฒนาได้อยู่ประมาณ34,487 ไร่ โดยในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีพื้นที่แปลงใหญ่ อาทิ ที่ดินย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ และมักกะสัน 745 ไร่
ก่อนหน้านี้การรถไฟฯ ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ดินย่านมักกะสันไว้ด้วยซึ่งพื้นที่นี้ มีขนาด 650 ไร่ ถือเป็นที่ดินที่มีศักยภาพเพราะอยู่ใจกลางเมือง ใกล้แหล่งธุรกิจที่สำคัญอาทิ ประตูน้ำ ราชประสงค์ สุขุมวิท เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในส่วนของระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2
ถนนสายหลักต่างๆ เช่น ถนนจตุรทิศ ราชปรารภ เพชรบุรี รัชดาภิเษก สามารถเดินทางเข้าออกได้สะดวกหลายทาง ทั้งยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไทและรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี
ทั้งนี้ได้กำหนดตัวเลือกในการพัฒนาไว้ 2 ทางเลือก ตามรายงานผลการศึกษาในเบื้องต้น

กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาคือ
แนวทางที่ 1 จะมีพื้นที่ในการพัฒนาประมาณ 2,200,000 ตารางเมตร คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน202,000 ล้านบาท จะประกอบไปด้วย พื้นที่สำหรับก่อสร้างเป็นห้างสรรพสินค้าที่พักอาศัย โรงแรมอาคารสำนักงาน อาคารร้านค้า ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์อาหาร และ โรงพยาบาล

ส่วนแนวทางที่ 2 จะใช้พื้นที่ในการพัฒนารวม 1,030,000 ตารางเมตรคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 82,000 ล้านบาท ประกอบด้วย พื้นที่สำหรับห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์แสดงสินค้า และโรงพยาบาล
นอกจากนี้ ที่ปรึกษายังได้แบ่งพื้นที่ในการพัฒนาออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1. พื้นที่ส่วนเอ จัดให้เป็นพื้นที่ส่วนธุรกิจการค้า ซึ่งจะอยู่ติดกับสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง มีเนื้อที่ประมาณ 104 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์การค้า ที่จอดรถ พื้นที่ร้านค้าปลอดภาษีและที่พักอาศัย พื้นที่โรงแรม

2. พื้นที่ส่วนบี จะเป็นพื้นที่ส่วนธุรกิจการค้าและศูนย์ประชุม อยู่ติดกับสถานีราชปรารภ มีเนื้อที่ 123 ไร่

3. สำหรับพื้นที่ส่วนซี จะเป็นพื้นที่ส่วนธุรกิจสำนักงาน อยู่ติดกับบึงมักกะสัน เนื้อที่รวม 143 ไร่ และ

4. พื้นที่ส่วนดี จะเป็นพื้นที่ของส่วนศูนย์แสดงสินค้า อยู่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่เนื้อที่รวม 125 ไร่

ส่วนที่ดินย่านพหลโยธิน และย่านสถานีแม่น้ำ(ช่องนนทรี)นั้น ขณะนี้ยังไม่มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจนและยังไม่มีการศึกษาหรือจัดทำแผนแม่บทไว้ โดยพื้นที่ย่านพหลโยธินนั้น
มีที่ดินรวม 23 แปลง มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,325 ไร่ แต่เมื่อหักพื้นที่ที่มีข้อจำกัดออกจำนวน 765 ไร่ และพื้นที่ใช้ในการพัฒนาเป็นสาธารณูปโภคประมาณ 468 ไร่ จะเหลือพื้นที่ใช้สอยที่นำมาพัฒนาได้ประมาณ 1,092 ไร่
ส่วนพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) มีเนื้อที่รวมประมาณ 277 ไร่ เมื่อหักพื้นที่ใช้พัฒนาระบบสาธารณูปโภคประมาณ 83 ไร่ จะเหลือพื้นที่ใช้สอยที่พัฒนาได้ประมาณ 194 ไร่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานให้เช่าได้

การรถไฟฯปัดฝุ่นแผนพัฒนาที่ดิน ดึงย่านสถานีนำร่องรองรับการตั้งบ.ลูก


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2409 15 มี.ค. - 18 มี.ค. 2552

กนร.อนุมัติแผนตั้ง 2 บริษัทลูกของการรถไฟฯ พร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินการเข้ม เร่งชงครม. อนุมัติในหลักการ ก่อนทำแผนละเอียดเสนออีกครั้ง สั่งให้ตั้งบริษัทเสร็จใน 30 วันหลังครม.อนุมัติหลักการแล้ว ด้าน สนข.เตรียมถึง ร.ฟ.ท. หารือกับกระทรวงคมนาคม ทำแผนพัฒนาเข้มอีกครั้ง ขณะที่การรถไฟฯ เตรียมจ้างที่ปรึกษาทำแผนการลงทุนอย่างละเอียด เตรียมนำที่ดินย่านสถานี อาทิ นครสวรรค์-เชียงใหม่-เชียงราย เป็นโครงการนำร่อง

นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้มีวาระพิจารณาเรื่องแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

โดยได้มีข้อสรุปว่าที่ประชุม กนร. เห็นชอบให้ดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท. โดยการจัดตั้งบริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน แยกจาก ร.ฟ.ท.

พร้อมกันนี้ได้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้ด้วยว่า ร.ฟ.ท.จะต้องเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาบริหาร และดูแลรักษาระบบรางและอาณัติสัญญาณ, สำหรับบริษัทเดินรถนั้นจะต้องดำเนินธุรกิจให้ครอบคลุมทั้งการเดินรถโดยสาร การเดินรถสินค้า การเดินรถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ตลิงค์และรถไฟฟ้าสายสีแดง, บริษัทบริหารทรัพย์สิน จะต้องทำหน้าที่ในการบริหารจัดการที่ดิน จัดเก็บรายได้และบริหารสัญญาเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท. โดยให้เอกชนพัฒนาและบริหารที่ดินทั้งหมด

นอกจากนั้นยังกำหนดให้ร.ฟ.ท. จัดตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ครม. มีมติอนุมัติในหลักการ คือ
1. บริษัทเดินรถ และ
2. บริษัทบริหารทรัพย์สิน

โดยให้คณะกรรมการ ร.ฟ.ท. พิจารณากำหนดทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่เหมาะสม อีกทั้งยังให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาแบ่งแยกภารกิจสินทรัพย์และหนี้สินระหว่าง ร.ฟ.ท.และบริษัทลูก 2 บริษัท รวมทั้งกำหนดกิจกรรมระหว่างกันและราคาให้เหมาะสม และเสนอให้ กนร. หรือ ครม.เห็นชอบอีกครั้งภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ ครม.มีมติอนุมติในหลักการ และให้ร.ฟ.ท.ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสินทรัพย์ และหนี้สิน เพื่อให้บริษัทลูก 2 บริษัท เริ่มดำเนินการได้ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ครม.มีมติอนุมัติในหลักการ

รวมถึงให้รัฐบาลรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตของ ร.ฟ.ท. โดยให้ กค. สศช. และ สงป.ร่วมพิจารณาการรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของร.ฟ.ท., ให้ กค. และ สงป.ร่วมพิจารณาในการแก้ภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท. โดยให้ ร.ฟ.ท. ใช้รายได้ของ ร.ฟ.ท.และบริษัทลูกจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ที่ กค. ช่วยเหลือ, ให้คณะกรรมการ ร.ฟ.ท. พิจารณาเสนอกรอบอัตรากำลังที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนงานของ ร.ฟ.ท. ให้ กค.พิจารณาเห็นชอบก่อนนำเสนอ ครม. ทบทวนมติครม. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 ที่กำหนดให้ร.ฟ.ท. งดรับพนักงานใหม่ ยกเว้นตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเดินรถและตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิพิเศษ แต่ต้องไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุ และให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดเสนอแผนการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของร.ฟ.ท. และบริษัทลูก ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ ครม.มีมติอนุมัติในหลักการ

นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีความเห็นเพิ่มเติมให้ ร.ฟ.ท. ไปจัดทำรายละเอียดในประเด็นดังนี้
คือ

1. ให้นำเสนอรายละเอียดโครงสร้างบริษัทลูกที่จะจัดตั้งขึ้นให้ชัดเจน,
2. พิจารณากรอบภารกิจของบริษัทบริหารทรัพย์สิน ระยะที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ Real Estate Developer,
3. พิจารณาภารกิจหน้าที่ด้านการพัฒนา บริหาร และดูแลรักษาระบบรางและอาณัติสัญญาณ ว่าควรแยกออกจากกันหรือไม่ อย่างไร และ
4. ควรอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด รวมถึงให้กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการตามแผนให้ชัดเจน แล้วให้กระทรวงคมนาคมนำเสนอคณะรัฐมตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไปด้วย

ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า หลังจากที่ประชุม กนร.ได้ให้ความเห็นชอบต่อแผนการฟื้นฟูการบริหารจัดการของการรถไฟฯ แล้ว ก็จะเสนอขออนุมัติในหลักการสำหรับการจัดตั้งบริษัทลูกทั้ง 2 บริษัท ต่อครม. เป็นลำดับต่อไป และในระหว่างนี้ การรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคม จะต้องร่วมกันหารือถึงความชัดเจนของแนวทางการดำเนินการ ทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการ โครงสร้างการทำงาน โครงสร้างบุคลากร รวมถึงความชัดเจนของการพัฒนาและการลงทุน ซึ่งจะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ก่อนที่จะเสนอให้ครม.

รับทราบในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

ขณะที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังจัดทำรายละเอียด โดยเบื้องต้นกำหนดแผนงานไว้ว่าจะนำที่ดินบริเวณสถานีทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ประมาณ442 สถานี มาพัฒนาเป็นลำดับแรก โดยในระยะแรกจะดึงมาพัฒนาก่อนประมาณ 114 สถานี โดยจะมุ่งเน้นพื้นที่สถานีขนาดใหญ่ อาทิ

1. อยุธยา
2. นครสวรรค์
3. อุตรดิตถ์
4. เชียงใหม่
5. ลำปาง

เอามาพัฒนาเป็นโครงการนำร่องก่อน โดยการรถไฟฯ จะว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษา พร้อมทั้งจะดึงผู้เชี่ยวชาญ อาทิ นักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมวางแผนการพัฒนาอย่างละเอียด ว่าแต่ละสถานีควรจะพัฒนาเป็นอะไร ต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร การทำแผนพัฒนาที่ดินแปลงอื่นๆ ก็จะต้องทำแผนอย่างละเอียดเช่นเดียวกัน

สำหรับแผนการจัดตั้งบริษัทลูกนั้น การรถไฟฯ จะเร่งเสนอหลักการขออนุมัติจัดตั้งบริษัทลูกทั้ง 2 แห่ง ให้ ครม. อนุมัติเห็นชอบในหลักการ จากนั้นการรถไฟฯ ก็จะไปจัดทำแผนรายละเอียดของการพัฒนาแต่ละแปลงมาเสนอให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในส่วนของบริษัทลูกนั้น จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารที่ดินตามสถานีรายทางต่าง ๆ โดยจะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการสัญญาจัดเก็บรายได้จากคู่สัญญาที่มาเช่าที่ดินการรถไฟฯ เพื่อพัฒนาโครงการ แต่ในส่วนของสัญญานั้นผู้เช้าจะเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับการรถไฟฯ ในขณะเดียกวันบริษัทลูกก็สามารถที่จะร่วมทุนกับเอกชนเพื่อพัฒนาที่ดินแปลงต่างๆ ด้วย สำหรับส่วนแบ่งรายได้จะต้องมาพิจารณาในรายละเอียดกันอีกครั้งหนึ่ง

ผู้ว่าการการรถไฟฯ กล่าวต่อว่า ในส่วนของที่ดิน 3 แปลงใหญ่ คือ

1. ที่ดินบริเวณสถานีมักกะสัน
2. ที่ดินสถานีแม่น้ำ และ
3. ที่ดินบริเวณพหลโยธินนั้น

การรถไฟฯ จะไม่โอนให้บริษัทลูกนำไปดำเนินการ แต่จะเก็บไว้บริหารจัดการเอง เนื่องจากทั้ง 3 บริเวณเป็นที่ดินแปลงใหญ่ มีมูลค่าการลงทุนที่สูง การรถไฟฯ จึงต้องการที่จะเก็บไว้ดำเนินการเอง ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถจัดทำแผนการพัฒนาอย่างละเอียดให้แล้วเสร็จได้ในเร็วๆ นี้

อนึ่งที่ดินของการรถไฟฯ ที่มีอยู่ มีจำนวน 234,976 ไร่ ประกอบด้วยที่ดินที่ใช้รองรับภารกิจหลักขององค์กร 198,674 ไร่ ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ 36,302 ไร่ ที่ดินย้านสถานี 5,333 ไร่ ที่ดินบ้านพัก 3,755 ไร่ และที่ดินที่เป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่

สำหรับที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ จำนวน 36,302 ไร่ นั้น แบ่งเป็นพื้นที่บริเวณสายตะวันออก จำนวน 4,952 ไร่ สายเหนือ 4,306 ไร่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ 9,032 ไร่ สายใต้ 15,186 ไร่ และพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2,825 ไร่ ซึ่งยังมีพื้นที่ที่สามารถนำมาพัฒนาได้อยู่ประมาณ 34,487 ไร่ โดยในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีพื้นที่แปลงใหญ่ อาทิ ที่ดินย่านพหลโยธิน 1,070 ไร่ และ มักกะสัน 745 ไร่

"คลัง"ท้วงแผนฟื้นฟูการรถไฟฯ พัฒนาที่ดินหลวม-รายได้ไม่ชัด


มติชนรายวัน ปีที่ 32 ฉบับที่ 11318 วันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2552

นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือร่วมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท. ซึ่งกระทรวงการคลังต้องการให้ ร.ฟ.ท.ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารพัฒนาทรัพย์สิน เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินและที่ดินของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด และกำหนดเป็นแผนการพัฒนาและรายได้ที่จะได้รับ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับกระทรวงการคลังว่า เมื่ออนุมัติแผนฟื้นฟูของ ร.ฟ.ท.แล้วจะสามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้ และไม่ประสบปัญหาขาดทุนอีก

"เดิมแผนฟื้นฟูกำหนดเพียงแนวทางว่า ร.ฟ.ท. จะตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินและเดินรถ แต่ไม่ได้ระบุว่าบริษัทลูกจะสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.เท่าใด และแนวทางในการพัฒนาที่ดินจะสามารถสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.ได้มากน้อยเพียงใด และเมื่อหารือกับกระทรวงการคลังแล้ว จะเร่งให้ ร.ฟ.ท.จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อประเมินทรัพย์สิน ในการประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. สัปดาห์หน้า"

นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า บริษัทที่ปรึกษาจะต้องศึกษาภาพรวมแนวทางพัฒนาที่ดินให้กับ ร.ฟ.ท. ส่วนที่ดินแปลงใหญ่ เช่น ที่ดินย่านพหลโยธิน รัชดาภิเษก มักกะสัน หาดใหญ่ ขอนแก่น ก็ต้องพิจารณาเป็นรายแปลงว่าจะพัฒนาอย่างไรเพื่อให้ ร.ฟ.ท. มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินมากกว่าปัจจุบันที่มีรายได้ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท

นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน กล่าวว่า อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) เพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาประเมินทรัพย์สิน และคำนวณอัตราค่าตอบแทน เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ได้รับประโยชน์สูงสุด และจะเสนอคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. พิจารณาอนุมัติประกวดราคาต่อไป โดยที่ดินแปลงแรกที่จะ
จ้างบริษัทที่ปรึกษา คือ ที่ดินบริเวณ กม.11 พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ และที่ดินติดแม่น้ำ พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2-3 เดือน

นายอิทธิพลกล่าวว่า คาดว่าในปีนี้ ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินประมาณ 2,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่มีรายได้ 1,100 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้จากผลตอบแทนการเช่าที่ดินบริเวณเซ็นทรัลลาดพร้าวจำนวน 600 ล้านบาท และเร็วๆ นี้ ร.ฟ.ท.ยังจะมีรายได้เพิ่มจากการให้เช่าที่ดินที่หัวหิน และสงขลา มูลค่า 30-40 ล้านบาท

ปลุกชีพมักกะสันคอมเพล็กซ์ ร.ฟ.ท.ชงหวานให้รัฐบาลปชป.


สยามธุรกิจ ฉบับที่ 961 ประจำวันที่ 7-1-2009 ถึง 9-1-2009 ]

ร.ฟ.ท. ตั้งแท่นชงอภิมหาโปรเจกต์ “มักกะสันคอมเพล็กซ์-ปรับปรุงรางทั่วประเทศ” มูลค่าแสนล้านให้รัฐบาลใหม่สานต่อ “ยุทธนา” ระบุ 2 โครงการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ชี้สามารถสร้าง งานได้กว่าแสนราย ขณะที่ โครงการแอร์พอร์ตลิงค์ได้ ฤกษ์เปิดบริการ 12 ส.ค.52 หลังเจอโรคเลื่อนเล่นงานมาตลอด ล่าสุด ประสานการบินไทย-ทอท. เตรียมตั้งทีมบริหารบริษัท

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ถึงโครงการที่ ร.ฟ.ท.เตรียมนำเสนอรัฐบาลใหม่ว่า ในส่วนของ ร.ฟ.ท.มี 2 โครงการที่เตรียมจะนำเสนอต่อรัฐบาล 2 โครงการคือ

1. โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ และ
2. โครงการปรับปรุงทางรถไฟทั่วประเทศ

ซึ่งทั้ง 2 โครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศได้เป็นอย่างดี ทั้งในระดับส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จนถึงระดับรากหญ้า ทำให้ประชาชนมีงานทำ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาการว่างงานได้ด้วย

ทั้งนี้ โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์นั้น มีมูลค่าการลงทุนถึง 2 แสนล้านบาท หากมีการนำไปสู่ขั้นตอนการก่อสร้างจะทำให้เกิดการจ้างงานนับแสนราย ส่วนโครงการปรับ ปรุงเส้นทางรถไฟนั้นเนื่องจากปัจจุบันมีบางแห่งที่ไม้หมอนชำรุด ต้องคอยซ่อมบำรุง รวม ถึงระบบอาณัติสัญญาณต่างๆ ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยน ดังนั้น ในโอกาสที่รัฐบาลต้องการให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ตนเห็น ว่า ทั้ง 2 โครงการเหมาะเป็นอย่างยิ่ง

โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา นายยุทธนา เคยกล่าวว่า น่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการพัฒนา ที่ดินบริเวณสถานีมักกะสัน (มักกะสันคอมเพล็กซ์) ได้ในปี 52 ตามแผนงานที่กำหนดไว้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กรอบทีโออาร์นั้น เดิมในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งได้มีการจัดทำร่างทีโออาร์ ในการพัฒนาโครงการ มักกะสันคอมเพล็กซ์ เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ดังนี้

1.การเปิดประมูลจะเป็นเปิดกว้างให้เอกชน หรือนักลงทุนที่สนใจเสนอแนวคิดในการพัฒนา รูปแบบโครงการ แนวทางบริหาร จัดการ การลงทุน การแบ่งส่วนแบ่งรายได้ เข้ามาให้พิจารณา

2.ผู้เข้ามาสัมปทานนั้นจะเป็นเอกชนรายเดียว

3.ระยะเวลาของสัญญา สัมปทานนั้น จะให้สิทธิเอกชนในการทำสัญญา 60 ปี โดยเฟสแรก 30 ปี แล้วต่อได้ 30 ปี เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนว่าจะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน

จ่อเชือด“ยุทธนา ทัพเจริญ” สังเวยสัญญากลุ่มเซ็นทรัล


โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 26 ธันวาคม 2551

คณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภาสอบเครียด กรณีร.ฟ.ท.เร่งต่อสัญญากลุ่มเซ็นทรัล

*โผล่แล้วหลักฐานมัด “ยุทธนา ทัพเจริญ”

*เผยสศช. สำนักงบฯยังไม่ให้ความเห็นมา ถือเป็นการเสนอเรื่องที่ไม่ผ่านขั้นตอน

หลังจากที่มีการเร่งรีบเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)กับบริษัทเซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด ที่ได้มีการลงนามในสัญญาไปแล้วนั้น ปรากฏว่ามีหลายฝ่ายออกมาวิพากวิจารณ์ว่ามีการเร่งรีบดำเนินการเกิดความไม่โปร่งใสและเอื้อผลประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งล่าสุดทางคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา มีการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในการต่อสัญญาเช่าที่ดินพร้อมทรัพย์สินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินจำนวน 47.22 ไร่ ที่ทางร.ฟ.ท.ได้มีการลงนามต่อสัญญากับเซ็นทรัลไปแล้วเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น

ทางคณะกรรมาธิการฯเห็นว่ายังมีข้อสงสัยหลายอย่าง เช่น การเร่งรัดการเสนอขออนุมัติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2551 การเร่งรัดการลงนามสัญญาและการพิจารณาเรื่องผลตอบแทน และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ได้มา โดยเฉพาะกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเร่งรีบส่งเรื่องการต่อสัญญาเข้าครม. เพื่อให้ทันก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณยังไม่ให้ความเห็นมา ถือเป็นการเสนอเรื่องที่ไม่ผ่านขั้นตอนโดยสมบูรณ์หรือไม่

สำหรับประเด็นการต่อสัญญาดังกล่าว จารึก อนุพงษ์ ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา ได้ประสานไปยังคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล และคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา เพื่อตั้งอนุกรรมการร่วมในการตรวจสอบการต่อสัญญาเซ็นทรัลเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุดแล้ว เพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่และมีผลตอบแทนค่อนข้างสูงถึง 21,000 ล้านบาท ทั้งนี้การที่ให้คณะกรรมการดังกล่าวร่วมตรวจสอบก็เพื่อให้มีความครอบคลุมในทุกประเด็น

โดยขณะที่ทางคณะทำงานของคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา ได้ขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดการพิจารณาเรื่องผลตอบแทนของการต่อสัญญา กระบวนการเสนอขออนุมัติครม. และขั้นตอนก่อนการเซ็นสัญญากับเซ็นทรัลทั้งหมด จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว พร้อมทั้งได้มีการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว เช่น ยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท. อิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าการฯ ด้านบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท.ซึ่งถูกตั้งเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 แทนนคร จันทรศร รองผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท. รวมถึงจะมีการเรียกคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 ทุกคน ให้มาชี้แจงกระบวนการ ขั้นตอนการพิจารณาที่ผ่านมาด้วย

ด้านยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแหงประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การต่อสัญญาเช่า ระหว่างร.ฟ.ท.กับเซ็นทรัล เป็นเรื่องที่ดำเนินการตามแผนเดิมที่คณะกรรมการมาตรา13กำหนดไว้ ซึ่งผู้บริหารร.ฟ.ท.ได้ดูรายงานตามที่ผู้เกี่ยวข้องรายงานมาว่าหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ ให้ร.ฟ.ท.เสนออัยการสูงสุดพิจารณาข้อสัญญา หลังจากนั้นจึงเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งก็ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว

ทั้งนี้ หลังจากที่คณะกรรมการมามาตรา13 ดำเนินการแล้วเสร็จได้มีการมาหารือกับผู้บริหารร.ฟ.ท.ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะจะครบสัญญาในวันที่18ธ.ค.นี้ และเมื่อพิจารณาแล้วว่าหากสามารถลงนามได้ก่อนก็ควรดำเนินการ ซึ่งหากร.ฟ.ท.ปล่อยให้เวลาล่วงเลยวันที่18 ธ.ค.ไปก็อาจมีคำถามตามมาว่าทำไมถึงไม่ต่อสัญญาก่อนที่จะหมดสัญญา อาจส่งผลให้มีการตรวจสอบถึงความล่าช้าของร.ฟ.ท.ทำให้รัฐเสียหาย รวมถึงผลประโยชน์ที่ร.ฟ.ท.ควรได้รับ

ดังนั้น เมื่อผู้บริหารเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ก็ควรรีบดำเนินการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อร.ฟ.ท. จึงให้กลุ่มเซ็นทรัลมาเซ็นสัญญา

“ส่วนการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการมาตรา 13 จาก นคร จันทศร รองผู้ว่าร.ฟ.ท. เป็นอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าฝ่ายทรัพย์สินนั้น ยุทธนาให้เหตุผลว่า เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงมาหารือว่ากรณีที่อัยการตรวจร่างสัญญาเสร็จแล้วจะดำเนินการต่ออย่างไร จึงเชิญประธานมาตรา13เดิม(นคร) มาชี้แจง ปรากฏว่าไม่มีความคืบหน้า จึงตัดสินใจเปลี่ยนตัวประธานมาตรา13 เพื่อให้งานเดินต่อไป เพราะหากปล่อยผ่านไปอาจมีปัญหาตามมาในอนาคต สำหรับผลตอบแทนที่ร.ฟ.ท.จะได้รับยังคงเช่นเดิมที่ 21,000 ล้านบาท ระยะเวลา 20 ปี ”ยุทธนากล่าว

ปมฉาว"รฟท.-เซ็นทรัล"เซ็นล่วงหน้าเมินมติ ครม.


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 25 ธันวาคม 2551

ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดอีกปม บิ๊ก ร.ฟ.ท.ร้อนรน ต่อสัญญาเซ็นทรัลไม่รอ เลขา ครม.แจ้งมติ ครม.เป็นทางการ เผยแจ้งเซ็นทรัลตั้งแต่ 4 ธ.ค. 51 ให้มาเซ็นสัญญา แต่ ครม.แจ้งมติเป็นทางการวันที่ 8 ธ.ค. "นคร" ขอความเป็นธรรมประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.หลังถูกกล่าวหาไม่ทำงานจนต้องเปลี่ยนตัวประธาน มาตรา 13 ยันทำงานตามขั้นตอน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงกรณีการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลงนามกับกลุ่มเซ็นทรัลเรื่องการต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว ว่า การเร่งรัดการดำเนินการเพื่อลงนามต่อสัญญาเช่าทรัพย์สินบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมพหลโยธินแก่บริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด ของกลุ่มเซ็นทรัล เป็นระยะเวลา 20 ปี มูลค่าผลตอบแทน 2.1 หมื่นล้านบาทนั้น ปรากฎว่าได้พบปมข้อสงสัยหลายประเด็น ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการมาตรา 13 , การเสนอนายสันติ พร้อมพัฒน์ ซึ่งเป็นรมว.คมนาคมในขณะนั้นเพื่อเร่งเสนอที่ประชุมครม.พิจารณาในวันที่ 2 ธ.ค.51 ให้ทันก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน โดยไม่รอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงบประมาณ และคณะกรรมการมาตรา 13 ยังไม่ได้ประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นที่สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างสัญญามา เป็นต้น

ยังพบประเด็นข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า สำนักเลขาธิการครม. ได้ทำหนังสือถึงนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2551 แจ้งที่ประชุมครม.วันที่ 2 ธ.ค.2551 ลงมติเห็นชอบการต่อสัญญาเช่าและลงทุนพัฒนาที่ดินระหว่างร.ฟ.ท.กับเซ็นทรัล ตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 โดยให้ร.ฟ.ท.ไปดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดให้ครบถ้วนก่อนลงนามในสัญญาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งนางโฉมศรี อารยะศิริ รองเลขาธิการครม.ปฏิบัติราชการแทนเลขาฯครม.เป็นผู้ลงนามแทน ในขณะที่ร.ฟ.ท.ได้ทำหนังสือแจ้งเซ็นทรัลลงวันที่ 4 ธ.ค.2551 ให้มาลงนามกับร.ฟ.ท.ในวันที่ 9 ธ.ค.2551 หลังจากที่บอร์ดร.ฟ.ท.ได้ประชุมรับทราบมติครม.วันที่ 8 ธ.ค. 2551

นายจารึก อนุพงษ์ ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมวุฒิสภากล่าวว่า กรณีการต่อสัญญาเซ็นทรัลของร.ฟ.ท.นั้น คณะกรรมาธิการคมนาคมฯ พบเงื่อนปมข้อสงสัย ในขั้นตอน การดำเนินงานหลายเรื่อง ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือประสานไปยังคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล และ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภาเพื่อตั้งอนุกรรมการร่วมในการตรวจสอบการต่อสัญญาเซ็นทรัลแล้ว โดยเห็นเป็นโครงการใหญ่มีมูลค่าผลตอบแทน 2.1 หมื่นล้านบาท ในระยะเวลา 20 ปี ควรจะต้องมีความโปร่งใส

**"นคร"ขอความเป็นธรรม

นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า วานนี้ (25 ธ.ค.) นายนคร จันทรศร รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ได้เข้าพบเพื่อขอความเป็นธรรมและแสดงเอกสารประกอบ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงประธานคณะกรรมการมาตรา 13 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งนายนครเป็นประธานฯ ในการต่อสัญญาเช่าทรัพย์สินบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมพหลโยธินแก่บริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด โดยมีการอ้างสาเหตุว่า ประธานคณะกรรมการมาตรา 13 ในขณะนั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่และไม่ให้ความร่วมมือในการเร่งรัดทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี จึงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อไม่ให้ร.ฟ.ท.ได้รับความเสียหาย ซึ่งตนในฐานะประธานบอร์ด ได้รับเรื่องไว้และหากได้รับความไว้วางใจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้บอร์ดร.ฟ.ท.ปฎิบัติหน้าที่ต่อก็จะให้ความเป็นธรรมในเรื่องดังกล่าว

"ตามมารยาทเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่บอร์ดก็ต้องลาออก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับรมว.คมนาคม ซึ่งจะต้องรอรับนโยบายหลังจากที่รัฐบาลได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว หากผมยังคงได้รับความไว้วางใจให้ทำงานในตำแหน่งประธานบอร์ดร.ฟ.ท.ต่อก็ยืนยันที่จะให้ความเป็นธรรมกรณีที่คุณนคร ถูกกล่าวหาว่าไม่ทำงานจึงต้องเปลี่ยนตัวประธานมาตรา 13 การต่อสัญญาเซ็นทรัล นอกจากนี้ในระหว่างนี้ บอร์ดร.ฟ.ท.จะไม่มีการประชุมใดๆ จนกว่าจะได้รับนโยบายที่ชัดเจน"นายถวัลย์รัฐกล่าว

ด้านนคร จันทรศร รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ได้เข้าพบประธานบอร์ดร.ฟ.ท.เนื่องจากได้รับทราบว่ามีการชี้แจงต่อบอร์ดว่าตนในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรา 13 หยุดทำงาน จึงต้องเปลี่ยนตัว จึงต้องชี้แจงข้อเท็จจริงในการทำงานที่ผ่านมาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากได้รับความเสียหายและหากการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป จะต้องมีการรับรองการประชุมเรื่องดังกล่าว ก็จะมีการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งคณะกรรมการมาตรา 13 ได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบเมื่อวันที่ 15 ก.ย.51 และอยู่ระหว่างรอการตอบกลับจากอัยการ ซึ่งในระหว่างนั้นวันที่ 21 พ.ย.51 เซ็นทรัลได้หารือกรณีที่ลงนามหลังสัญญาครบกำหนด 18 ธ.ค.51 และได้มีการทำหนังสือประสานเข้ามาแล้วโดยอัยการสูงสุได้แจ้งว่า ตรวจสอบร่างสัญญาเสร็จแล้ว วันที่ 27 พ.ย. 51

ดังนั้นจึงมีการแจ้งว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการมาตรา 13 เพื่อนำความเห็นของอัยการสูงสุดที่ตึ้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างสัญญามาพิจารณา แต่ได้รับการประสานจากกรรมการมาตรา 13 ผู้แทนจากสำนักงบประมาณว่า มีคำสั่งให้ทำเรื่องต่อสัญญาเซ็นทรัลเสนอครม.วันที่ 2 ธ.ค.โดยที่กรรมการมาตรา 13 ยังไม่ได้ประชุม ซึ่งในขณะนี้ตนในฐานะประธานมาตรา 13 ยังไม่ได้ลงนามเสนอเรื่องไปยังรมว.คมนาคม ต่อมาวันที่ 3 ธ.ค. ตนถึงทราบเรื่องว่ามีการเปลี่ยนประธานมาตรา 13 ไปตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.51 จึงต้องชี้แจงเพื่อขอความเป็นธรรมต่อประธานบอร์ดร.ฟ.ท.