วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ร.ฟ.ท.เล็งดึงที่ดินย่านพหลโยธิน สร้างคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2551 22:56 น.


โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2551 22:56 น.

ร.ฟ.ท.เล็งดึงที่ดินทำเลทองย่านพหลโยธินกว่า 200 ไร่ พัฒนาคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ครบวงจร ทั้งศูนย์กลางค้า สปอร์ตคอมเพล็กซ์ สนามไดร์ฟกอล์ฟ พร้อมเปิดทางเอกชนลงทุนในรูปแบบสัมปทาน 30 ปี หวังสร้างรายได้ล้างหนี้

การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานรัฐที่ถือครองที่ดินทำเลทองมากที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งร.ฟ.ท.ระบุว่าครอบครองที่ดินมากถึง 2.5 แสนกว่าไร่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่มีที่ดินในครอบครองประมาณ 8,155 ไร่ กระจายอยู่ทางทิศเหนือ ตะวันออก และทางทิศใต้ของ กทม.

ที่ดินส่วนใหญ่กระจายอยู่ในย่านธุรกิจ เช่น ถ.รัชดาภิเษก สี่แยกรัชโยธิน พระราม 9 สวนจตุจักร ที่ตั้งของโรงแรมและห้างเซ็นทรัล และที่ดินบริเวณพหลโยธิน ซึ่งปัจจุบันได้แบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ เช่น ให้ที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)เช่า 48.7 ไร่ ตลาดนัดจตุจักร 78 ไร่ สวนจตุจักร 190 ไร่ และที่บริเวณสนามกอลฟ์รถไฟ 375 ไร่

ขณะเดียวกัน ยังแบ่งให้หน่วยงานราชการเช่าและทำเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ด้วย ประกอบด้วย ดอนเมืองโทลล์เวย์ 42 ไร่ ขสมก. 30 ไร่ สวนหย่อม 30 ไร่ ปตท. 20 ไร่ กปน. 5.7 ไร่ นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการสำรองบ้านพักและกิจการรถไฟ 90 ไร่ บ.ข.ส.เช่าชั่วคราว 70 ไร่ องค์การโทรศัพท์ฯเช่า10ไร่

หากพิจารณาจากจำนวนที่ดินและทำเลที่ตั้งแล้ว ร.ฟ.ท.น่าจะได้รับผลประโยชน์จากที่ดินจำนวนมาก แต่ในทางกลับกันร.ฟ.ท.กลับมีรายได้น้อยมาก เพราะการจัดเก็บค่าเช่าไม่สมเหตุสมผล อีกทั้งการทำสัญญาเช่ากับภาคเอกชนนั้น ส่วนใหญ่ร.ฟ.ท.ถูกเอาปรียบคือ เก็บค่าเช่าถูกมาก แถมยังทำสัญญาเช่าระยาว ขณะที่หากรัฐบาลเป็นผู้เช่า ก็สามารถเก็บค่าเช่าได้ไม่มากนัก เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐเหมือนกัน ทั้งนี้ นอกจากการจัดเก็บค่าเช่าที่เสียเปรียบแล้ว ที่ดินหลายแห่งยังถูกบุกรุก ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับร.ฟ.ท.มาก

สำหรับที่ดินบริเวณหลัง บมจ.ปตท.ที่มีอยู่ประมาณ 200 ไร่ ส่วนหนึ่งให้ปตท.เช่า เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ประหยัดพลังงาน จำนวน 2 อาคาร สูง 30-40 ชั้น ที่ดินส่วนที่เหลือร.ฟ.ท.มีแผนพัฒนาเรียบร้อยแล้ว

อิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่า ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.มีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน บริเวณด้านหลังบริษัทปตท. ซึ่งในเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นสนามไดรฟ์กอล์ฟและสปอร์ตคอมเพล็กซ์ เช่น มีสนามฟุตบอลในร่ม สนามแบดมินตัน สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ เป็นต้น รวมทั้งมีแผนก่อสร้างเป็นศูนย์การค้า โดยจะย้ายบ้านพักในบริเวณ กม.11

ปัจจุบัน ไปอยู่ในอาคารที่พักโดยร.ฟ.ท.จะสร้างขึ้นเพื่อให้พนักงานอาศัยทดแทน ในพื้นที่ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในพื้นที่ประมาณ 135ไร่ คาดใช้เงินลงทุนสัญญาละ 200 ล้านบาท โดยจะเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุน และให้ผลตอบแทนกับ ร.ฟ.ท. ซึ่งจะทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้เข้าองค์กร และสามารถนำไปชำระหนี้ที่มีจำนวนมากหลายหมื่นล้านบาทด้วย โดยมีแผนที่จะดำเนินการในปี 2552

“ทั้งนี้โครงการนี้น่าจะดำเนินการได้ทันที หากที่ปรึกษาสรุปผลการศึกษาแล้วเสร็จภายในปีนี้ และจะเริ่มก่อสร้างได้ก่อนศูนย์มักกะสันคอมเพล็กซ์ เนื่องจากมักกะสันใช้เงินลงทุนเป็นแสนล้านขณะที่สปอร์ตคอมเพล็กซ์และศูนย์กลางค้าย่านพหลโยธินใช้เงินลงทุนต่อสัญญาประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 สัญญา ประกอบด้วย 1.สนามไดรฟ์กอล์ฟ 2.สปอร์ตคอมเพล็กซ์ และ3.ศูนย์กลางค้า ซึ่งจะเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท. เห็นชอบโครงการเร็วๆนี้ ”อิทธิพลกล่าว

สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น อิทธิพลกล่าวว่า จะให้เอกชนเข้ามาลงทุนและเสนอผลตอบแทนให้ร.ฟ.ท.สัญญา 30 ปี หลังจากนั้น สิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของร.ฟ.ท.เช่นเดียวกับอาคารที่ปตท.กำลังก่อสร้างเป็นศูนย์ประหยัดพลังงาน โดยปตท.ใช้งบลงทุนเกือบหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ได้มีแบ่งการพัฒนาที่ดินเป็น สนามไดรฟ์กอล์ฟ ใช้พื้นที่ 30ไร่ ศูนย์กลางค้า 60ไร่ และสปอร์ตคอมเพล็กส์ 40 ไร่ แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 เฟส เฟส แรก เป็นอาคารพลังงานของปตท.ขณะนี้ปตท.กำลังจะดำเนินการเฟส 2 จำนวน 18 ไร่ ซึ่งร.ฟ.ท.จะเสนอให้บอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบต่อไป ส่วนเฟส 2 จะเป็นการแบ่งการพัฒนา โดย ร.ฟ.ท. จะทำการเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจเข้ามาประมูลเพื่อพัฒนาบ้านพักพนักงาน ศูนย์กลางค้า สปอร์ตคอมเพล็กซ์ โดย ร.ฟ.ท. จะแบ่งบล็อกเพื่อพัฒนาเป็นส่วนๆ เช่น บ้านพักพนักงานร.ฟ.ท.จะอาจจะย้ายไปอยู่อีกฟากหนึ่งโดยจะทำเป็นตึกสูง และพื้นที่เดิมของบ้านพักก็จะพัฒนาเป็นสนามฟุตบอลหรือสวนสีเขียว เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น