วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ร.ฟ.ท.ไฟเขียวเซ็นทรัลเช่าที่สามเหลี่ยมพหลฯ ต่อ 20 ปี


ข่าวนี้มาจากหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ 936 ประจำวันที่ 4-7 ตุลาคม 2551

บอร์ดร.ฟ.ท.ไฟเขียว ต่อสัญาเช่าที่ดินสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน 47.2 ไร่ แก่กลุ่มเซ็นทรัลอีก 20 ปี แลกผลตอบแทนกว่า 2.1 หมื่นล้าน ชี้เร่งลงทุน 2.4 พันล้าน ปรับปรุงอาคาร-โรงแรม-ระบบไฟฟ้า-ลิฟต์-บันไดเลื่อน-ปรับอากาศ-ระบายอากาศ-ตกแต่งภายใน-วิศวกรรมโครงสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 31 ธ.ค.51 ก่อนเสนอขออนุมัติ ครม. พร้อมเห็นชอบผลประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน เตรียมเซ็นสัญญา ก่อสร้างกับยูนิค-ซุนวูต.ค.นี้

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ว่า บอร์ดได้คัดเลือกเอกชนแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เสนอให้ต่อสัญญากับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวน 47.22 ไร่ รายเดิม และจะหมดสัญญาเช่าในวันที่ 18 ธันวาคม 2551 โดยเป็นการต่อสัญญาอีก 20 ปี แลกกับ ผลตอบแทน 21,298.83 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทเซ็นทรัลฯ จะต้อง ลงทุนปรับปรุงบูรณะพัฒนา อาคารโรงแรม ระบบไฟฟ้า ลิฟต์และบันไดเลื่อน ระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศ รวมทั้งงานสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน และวิศวกรรมโครงสร้าง ใช้เงินลงทุน 2,400 ล้านบาท ปรับปรุงให้เสร็จภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2554 หลังจากนี้ ร.ฟ.ท. จะส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา ก่อนเสนอขออนุมัติจาก ครม.

บอร์ดได้อนุมัติตามที่คณะกรรมการมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.การร่วมทุน ที่เห็นชอบให้ต่อสัญญาให้กับผู้รับสัมปทานเดิมคือ บริษัท เซ็นทรัลฯ ที่จะให้ต่ออายุ 20 ปี คิดมูลค่าปัจจุบันที่ 1.1 หมื่นล้านบาท และมีค่าปรับปรุงอาคารอีก 2,400 ล้านบาท และเมื่อนำมารวมกับค่าดอกเบี้ยในอนาคตอีก 5-6% แล้วจะทำให้ ร.ฟ.ท.ได้รับเงินจากสัญญานี้ตลอดระยะเวลา 20 ปี รวม 2.1 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมค่าปรับปรุงอาคาร) อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มเซ็นทรัล มีรายได้เกินกว่าที่ประมาณการไว้ ก็จะแบ่งส่วน แบ่งรายได้ ให้กับ ร.ฟ.ท.อีก 5%ิ นายยุทธนา กล่าว

ทั้งนี้ บอร์ดยังมีมติเห็นชอบผลการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟ ชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่กลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ซุนวู (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ และ บริษัท CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD.) เป็นผู้ชนะการ ประมูลด้วยการเสนอค่าก่อสร้างต่ำกว่าราคากลาง 1,000 บาท โดยราคากลางอยู่ที่ 8,748.40 ล้านบาท

แม้จะมีกลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ซุนวู เพียงรายเดียวที่ผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการเสนอราคาได้ แต่บอร์ดร.ฟ.ท.ก็เห็นว่าสมควรเห็นชอบผลการประกวดราคาดังกล่าว เพราะหากเปิดประมูลใหม่จะต้องปรับราคากลางขึ้นอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท อีกทั้งโครงการนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะสร้างประโยชน์ ให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งมีความล่าช้ามามากแล้ว ขั้นตอนจากนี้จะส่งเรื่อง ไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อขอเบิกจ่ายงบที่ได้รับการอนุมัติแล้ว มาดำเนินการก่อสร้าง และรอให้อัยการตรวจสอบร่าง สัญญา พอเสร็จเรียบร้อยก็เซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ซึ่งผมมั่นใจว่าน่า จะเซ็นได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นก็เดินหน้างานก่อสร้างทันทีิ นายยุทธนา กล่าว

นอกจากนี้ บอร์ดยังมีมติเห็นชอบเปิดประกวดราคา หาที่ปรึกษามาตรวจสอบและออกใบรับรองมาตรฐานแอร์พอร์ตเรลลิงค์ โดยว่าจ้างในราคา 195 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีการคัดสรรไว้แล้ว 4 ราย ที่ต้องยื่นข้อเสนอให้ ร.ฟ.ท. พิจารณา พร้อมกันนี้ ร.ฟ.ท.จะเร่งเสนอ รายละเอียดการจัดตั้งบริษัทเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงค์ให้ครม.พิจารณา เพื่อขออนุมัติงบประมาณมาเป็นทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2551 นี้ เบื้องต้นบริษัทเดินรถ จะประกอบ ด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(CEO) 1 คน, ผู้บริหารระดับสูง 49 คน และลูกจ้าง ชั่วคราว 450 คน ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะเปิดรับสมัครใหม่ทั้งหมด

เราต้องเร่งเรื่องพวกนี้ให้เสร็จแบบเร่งด่วน เพราะแอร์พอร์ตเรลลิงค์จะก่อสร้างเสร็จวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 และเปิดให้บริการ 12 สิงหาคมปีเดียวกัน ซึ่งเบื้องต้นผมจะขอทุนจดทะเบียนบริษัท เดินรถที่ 500 ล้านบาท ตามแผนฟื้นฟูที่ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเขาศึกษาไว้ก่อน และในอนาคตจะทยอยเพิ่มทุนจดทะเบียน จนถึง 2,000 ล้านบาท เพื่อให้สมดุลกับวงเงินจัดซื้อรถรถไฟฟ้าที่ 7,000 ล้านบาทิ นายยุทธนา กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น