วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บริบทว่าด้วย...ที่ดิน ‘ร.ฟ.ท.’


สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1002 ประจำวันที่ 3-6-2009 ถึง 5-6-2009

การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรของประ ชาชนคนไทย ถูกตีกรอบจำกัดระหว่าง คนมั่งมี กับคนยากจน ที่นับวันจะมีความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้นทุกขณะ

ปัญหาการเข้าถึงที่ดินทำกิน หรือทรัพยากรต่างๆ ของประชาชน จำเป็นอย่าง ยิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งรีบสะสางให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน

ในขณะที่รัฐบาลมีแนวคิดผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งไอเดียที่ว่า มีดำริมาหลายสมัยรัฐบาลแล้ว ทว่าไม่มีรัฐบาลใดสามารถดำเนินการผ่านกฎหมาย บังคับใช้ได้ เนื่องจากผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง ต่างเป็นผู้ที่ถือครองที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์สิ่งปลูกสร้างอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นเอง

ระหว่างที่กระทรวงการคลังมีนโยบาย ที่จะปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีนโยบายพัฒนาที่ดินสาธารณะให้เกษตรกร เช่าไร่ละ 10 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี และยังมีแผนให้หน่วยงานภาครัฐที่มีที่ดิน อยู่ในครอบครองดำเนินการพัฒนาพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริม ประชาชนมีพื้นที่ทำมาค้าขาย

การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรม ธนารักษ์ จึงกลายเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลไปโดยปริยาย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงพระราชทานที่ดินจำนวนมากเพื่อวางรากฐานการรถไฟแห่งประเทศไทยใช้เป็น พื้นที่ รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับ พสกนิกรของพระองค์ ตลอดระยะเส้นทาง ม้าเหล็กอันมีไม้หมอนทอดยาวเหนือจรด ใต้ อีสาน และตะวันออก

เวลาผันผ่านปณิธานอันแรงกล้าของ องค์เหนือหัวจอมกษัตริย์ไทย กลับถูก สั่นคลอนไปกับกาลเวลา พื้นที่ส่วนใหญ่ตกอยู่ในการครอบครองของ “นายทุน” บ้างก็ปล่อยให้รกร้างตามมีตามเกิด ครั้นคนหาเช้ากินค่ำเข้าไปใช้พื้นที่เพื่อยังประ โยชน์เลี้ยงปากเลี้ยงท้องพอจะลืมตาอ้าปากได้ เมื่อกลุ่มนายทุนเพ่งเล็งเห็นว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทำเลทอง สามารถผุดโครงการขนาดใหญ่ได้ ประชาชนคนหาเช้า กินค่ำเบี้ยน้อยหอยน้อย ก็มักจะตกอยู่ใน วังวนเดิมๆ ถูกตั้งข้อกล่าวหาเป็นผู้กระทำ ผิดกฎหมาย บุกรุกสถานที่ราชการ ทั้งที่ในความเป็นจริงพวกผู้ค้าเหล่านี้ มีหนังสือ สัญญาเช่าพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศ ไทยโดยตรง บ้างก็เช่าช่วงมาอีกทอดหนึ่ง

ปัญหาการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรระหว่าง “คนรวย” กับ “คนจน” จึงมีความเหลื่อมล้ำอย่างน่าเศร้าสลดใจ...!!!

ทำให้เกิดคำถามว่า คนมีอำนาจ หรือคนรวย สามารถใช้อำนาจเงินกระทำผิดโดยไม่ต้องรับโทษทัณฑ์ตามกฎหมายบ้าน เมืองหรือ ผู้มีอำนาจบารมีหลายคนเลือก ที่จะรวยทางลัด เอาที่ดินรัฐไปเล่นแร่แปร ธาตุ เป็นข้อกล่าวหาที่ต้องอดใจรอให้ศาล สถิตยุติธรรมพิจารณาเอาความ

“ลูบๆ คลำๆ” มองลอดแว่น กรณีหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง เปิดประเด็น ถึงการเข้าไปใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 35 ไร่ ย่านขนส่งหมอชิต 2 และยังอ้างว่ามีคนมีสี สมคบกับ “มาเฟีย” เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่แสวงหาประโยชน์แบ่งพื้นที่ให้เอกชน เช่าเปิดร้านอาหาร รวมถึงสถานีบริการก๊าซ เอ็นจีวี และยังใช้พื้นที่ว่างเปล่าเป็นสถาน ที่จอดรถตู้ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ

สื่อฉบับดังกล่าว

กล่าวอ้างถึงคนมีสีจากกองทัพมาเฟีย และคนในวงการข่าว ที่ถูกจำกัดความว่า “เป็นนักข่าวปลายแถว”

ต้องชื่นชมในความเป็นสื่อมวลชน ที่อาสาเป็น “แมลงวัน” ตรวจสอบพวกเดียวกัน เหมือนกับการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐบาลตรวจสอบการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล อย่างถึงอกถึงใจกันอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นความงดงามส่วนหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์และน่าติดตามเป็น อย่างยิ่ง

ทว่าในความเคลื่อนไหวที่ดังอื้ออึงอยู่ในห้วงเวลานี้ ต้องไม่ลืมว่า ผลประโยชน์จากกรรมสิทธิ์ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ควรตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง หาใช่การโยกย้ายถ่ายเทเพื่อผลประโยชน์ของเหล่า นักการเมือง หรือนายทุน

ที่สำคัญการรถไฟแห่งประเทศไทย และรัฐบาลควรให้ความเป็นธรรม กับผู้เช่าระดับรากหญ้า มากกว่ากลุ่มทุนที่ใช้อำนาจวาสนาทางการเมืองบีบ รัดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและหมู่คณะ

บริบท “แมลงวันสายพันธุ์ใหม่” ใครจะเป็นสื่อปลายแถว ต้นแถว สื่อแท้ สื่อเทียม ก็ขอให้เป็นผู้ที่เจริญอยู่ในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ความอัปยศของคนข่าวอย่างเราๆ ไม่ใช่การเข้าไปลงหุ้นเปิดร้านขายอาหารเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นวิถีสุจริตชน หากแต่การทำงานตาม “ใบสั่ง” หรือการรับสินจ้าง ต่างหาก เหล่านี้ย่อมถูกตราหน้าเป็นผู้ “ทรยศ” ต่อวิชาชีพที่น่าละอายใจที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น