วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การปรับปรุงกิจการ รฟท. จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อ นำที่ดิน รฟท. ออกมาใช้แทนที่จะทิ้งรกร้างไปเปล่าๆ


อารีพงศ์ บุญชะอุ่ม (หัวหน้าสำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ) ยืนยันว่า รฟท. ต้องโดนเปลี่ยนโครงสร้างถ้าอยากจะให้มีัความสามารถในการลงทุนทำทางคู่ทั่วพระราชอาณาจักร หารถจักรรถพ่วง มาใช้งานมากพอแก่ความต้องการ และ สร้างทางใหม่ที่คงค้่างไว้อยู่ แม้่ว่าการเปลี่ยนโครงสร้าง จะเป็นยาขมหม้อใหญ่ ที่สหภาพฯ รังเกียจนักรังเกียจหนา ทั้่งนี้เนื่องจาก สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ ให้เวลา รฟท. 10 ปี ในการแก้ไขตัวเองให้ได้จำนวนผู้โดยสารกลับมาอยู่ที่ Peak ในปี 2535 และมีกำไรพอชำระหนี้ได้ แต่ รฟท. ทำไม่สำเร็จ

สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจกำหนดไว้ชัดเจนว่้า รฟท. ต้องปรับปรุงส่วน core train operations จากขาดทุน 2150 ล้านบาทในปี 2009 เป็นกำไร 287 ล้านบาทในปี 2012 และ เร่้งทำกำไรให้ถึง 1240 ล้านบาทในปี 2018 เพืท่อทำให้ค่า EBITDA (Earnings before interest, taxes, depreciation and amortisation) เพิ่มจาก -3580 ล้านบาทในปี 2009 เป็น -491 ล้านบาท ในปี 2018

การที่จะทำให้ได้เป้าหมายตามนี้ ก็หนีไม่พ้นเรื่องบริหารจัดการที่ดิน รฟท. พร้อมการเพิ่มประสิทธิภาพ และ ปรับปรุงหนี้สินให้อยู่้ในระดับจัดการได้ ก่อนจะลงทุนเพิ่มให้ในหลัก แสนล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ รฟท. ต้องปรับปรุง Logistic ให้เป็นไปตามแผนการลงทุน 1 ล้าน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกด็หนีไม่พ้น การเปลี่ยนโครงสร้างขนานใหญ่ที่ สหภาพรังเกียจนัก ที่ เป็นเช่นนี้ก็เพราะ รฟท. ใช้จ่ายเงินเพียง 50% ของ งบ 1-2 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการ Rehab ทาง และ ซ่อมบำรุงรถจักร รถพ่วงและทางถาวร ทำให้ รัฐบาลแทบจะหมดความมั่นใจว่าแผนที่จะลงทุุน 195000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2010 - 2014 จะเป็็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะ รัฐบาลต้องการเห็น รฟท. จ่ายเงิน80-90% ของ งบประมาณ เพื่อใช้ในการ Rehab ทาง และ ซ่อมบำรุงรถจักร รถพ่วงและทางถาวร

สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ แจ้งว่า สำนักงานนโยบายรัฐวิืสาหกิจ ให้เวลา รฟท. 10 ปี ในการแก้ไขตัวเองแต่ก็ล้มเหลว ทำให้ รัฐบาลต้องมี มติครม. ออกมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 เพื่อปรับโครงสร้าง รฟท. โดยการตั้งบริษัทลูก คุมการบริหารจัดการทืี่ดินและการเดินรถ ซึ่ง บริษัทลูก คุมการเดินรถ จะต้องคุม ทั้ง Airport Link และ BKK Red line Commuter Networks ส่วน บริษัทลูก คุมการบริหารจัดการทืี่ดิน จะคุมส่วน Non-Core อันได้แก่ที่ดินรถไฟ38,604 ไร่มูลค่า 202000 ล้านบาท

แต่สหภาพ รฟท. ได้นัดหยุดงาน 2 วันโดยตั้งข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลว่า มติครม. ออกมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 เป็นแผนการขายกิจการให้เอกชน สร้างความเดือดร้อนให้ผู้โดยสาร 2 แสนคนทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ผู้วางแผนนโยบายยืนยันกลับไปว่า ถ้า สหภาพ รฟท. ไม่ยอมรับแผนตามมติ ครม. ออกมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2009 ก็ไม่มีเหตุึสมควรที่จะได้รับการลงทุนใหม่เป็นอันขาด

10ปี ที่ผ่านมาได้วางรางใหม่ไม่ถึง 100 กิโลเมตร ให้สำหรับเครือข่าย 4000 กิโลเมตรที่ชักจะชราภาพไปแล้ว

นอกจากนี้ การก่อสร้างสายแดง ที่ล่าช้าไป 6 เดือน เป็นข้อยืนยันว่า รฟท. เสื่อมความสามารถในการคุมการก่้อสร้างให้เป็นไปตามตารางเวลา หรือ ตามเป้าหมาย

ว่ากันตามจริงแล้ว รัฐบา่ลมีแผนให้ รฟท. ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ แต่ปี 2000 แต่ สหภาพ ไม่ยอมแผนของรัฐบาล ตอนแรกจะใช้แผนเดียวกับ ปตท. แต่สหภาพไม่ยอม ก็เลยออก แผน ใหม่ ที่ยอมให้ รฟท. มีหุ้นในบริษัทลูก 100%

ดร. อารีพงศ์ บ่นให้นักข่าวบางกอกโพสต์ว่า ทางสำนักนโบายรัฐวิสาหกิจ ไม่เข้าใจว่า สหภาพฯ ยังไม่เลิกนัดหยุดงานต่อต้านรัฐบาลไปเพื่ออะไร ในเมื่อ นโยบายตั้ง บริษัทลูกทั้ง 2 นี้ เป็นสิ่งที่ สหภาพฯ ได้ร้องขอมาเอง การเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุดเช่นนี้ รัฐบาลจะไม่ยอมให้สหภาพทำอีกเป็นอันขาด เพราะ รัฐบาลไม่ยอมรับข้อกล่าวหาของสหภาพว่า การตั้งบริษัทลุก 2 บริษัท เป็นแค่แผนลวงเพื่อขายกิจการ รฟท. ถ้ารั้นจะนัดหยุดงานอีก ให้ไปเพียง กับอัยการ และ ผู้พิพากษา ในศาลก็แล้วกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น